นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

M-Commerce

คาบ 7 : 21 ธ.ค. 53

          วันนี้อาจารย์พูดถึงการทำ M-Commerce หรือ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) ต่างๆ โดยมีเนื้อหาต่อไปนี้

Mobile Computing
          แรกเริ่มเดิมที Mobile Computing ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เด็กนักเรียนในชนบทของประเทศกำลังพัฒนาได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจึงพัฒนามาอยู่ในกลุ่มของโทรศัพท์มือถือ เช่น iPhone (ซึ่งเคยออกสินค้าตัวเดียวกันนี้มาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะผู้คนยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าขนาดนี้)

ทำไม M-Commerce ถึงสำคัญ??
  • Ubiquity - สามารถเข้าได้ทุกหนทุกแห่ง ไปได้ทุกที่ มีความสะดวกมากขึ้น เพราะติดตัวเราตลอดเวลา
  • Convenience - มีเครือข่ายให้เข้าได้ทุกที่ ไม่ต้องรอมีสายโทรศัพท์แล้วจึงสามารถเข้าเครือข่ายได้
  • Instant Connectivity - สามารถเข้าถึง Internet, Intranet, other mobile device ได้อย่างรวดเร็ว
  • Personalization - สามารถ customize ให้เป็นไปตามความต้องการ ความชอบของตนเองได้
  • Localization of product & service - สามารถเอาข้อมูลมาเป็นข้อมูลส่วนตัวได้

ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของ M-Commerce
  • Widespread availability of mobile devices - มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายจำนวนมาก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
  • No need for pc - ผู้คนต้องการใช้ pc น้อยลง
  • Handset culture - วัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป
  • Declining prices, increased functionalities - มีราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • Improvement of bandwidth - มีการพัฒนา bandwidth ที่รองรับได้ดีขึ้น เช่น 3G, 3.5G
  • Centrio chip - มีการพัฒนา chip ให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น กินไฟน้อยลง
  • Availability of internet access in automobile - สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ง่ายขึ้น
  • Networks - เครือข่ายรองรับมากขึ้น เช่น  3G, 4G, Wi-Fi
  • The service economy - มีการให้บริการผ่าน internet มากขึ้น
  • Vendor's push - ผู้ผลิตมีการผลักดันให้มีการใช้มากขึ้น
  • The Mobile workforce - แรงงานมีการเคลื่อนที่มากขึ้น
ตัวอย่าง Business Model ของ M-Commerce
Mobile Shopping, mobile Banking, Information based service, Mobhile Auction, Mobile Travel information and booking

Infrastructure ที่ใช้
  • WAP (Wireless Application Protocol) - เพื่อสร้าง standard ให้กับการสื่อสารผ่านเครือข่าย
  • Markup language - เช่น WML, XHTML
  • Mobile Development - เช่น .NET compact, JAVA ME, Python
  • Mobile Emulators - ตัวช่วยที่ทำให้โปรแกรมจากคอมพิวเตอร์สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ Mobile ได้
  • Microbrowsers - เช่น Android, Safari, IE Mobile, Firefox Mobile
  • HTML5 - เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้หน้าเว็บสามารถ update ตัวเองจากการพัฒนาเพิ่มเติมของ developer ได้

ตัวอย่างการทำ M-Commerce
  • Mobile Banking ของ K-Bank
  • iTunes, App Store ของ Apple
          ในช่วงนี้อาจารย์ได้เล่าถึงการทำ M-Commerce ของ Apple โดยเป็นการเน้นการขาย Content ผ่าน iTunes ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาช่วยพัฒนา Content ต่างๆ ได้ ทำให้ผู้พัฒนารายย่อยก็มีช่องทางในการขายสินค้าที่พัฒนาขึ้นมา รวมทั้ง Apple ก็ยังมี Content ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี เนื่องจากผู้พัฒนาก็เป็นผู้บริโภคเองด้วย และยังทำให้ Apple สามารถเปลี่ยนวิธีการบริโภคสินค้าประเภทเพลงได้ สามารถขายเพลงในราคาถูก และยังมีผู้ผลิต Accessories อีกจำนวนมากที่ผลิตให้กับ Apple เพียงอย่างเดียว ซึ่งการทำเช่นนี้เรียกว่า Ecosyystem ซึ่งทำให้ Apple มีการ Intergrate Supply Chain ได้ดีกว่าบริษัอื่น ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน

  • QR Code
  • GPS
  • ForuSquare
  • GeoTagging
          หลังจากนี้เพื่อนก็ได้ออกมานำเสนอ IT Hype โดยวันนี้มี 3 เรื่อง ดังนี้

Mobile Robot
           เป็นหุ่นยนต์ที่มีโครงสร้างแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำงานโดยการสั่งการของคน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามเกณฑ์ต่างๆ ได้ดังนี้

          ตามการเคลื่อนที่ แบ่งเป็น
           1. Fixed Robot หรือหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ จะมีโครงสร้างที่ใหญ่โต มีแหล่งจ่ายไฟจากภายนอกตัวหุ่นยนต์ เช่น หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือหุ่นยนต์ในวงการการแพทย์ เป็นต้น
          2. Mobile Robot หรือหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวอิสระ มีขนาดเล็ก เคลื่อนที่ในแนวราบ เน้นการทำงานในสภาพภูมิประเทศที่ทุรกันดาร ปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีการเดินเลียนแบบมนุษย์มากขึ้น

          ตามรูปลักษณ์ภายนอก แบ่งเป็น 6 รูปแบบ เช่น Humanoid, Android, Gynoid เป็นต้น หุ่นยนต์พวกนี้จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายมนุย์

ประโยชน์ของMobile Robot
  • ด้านการแพทย์ - เป็นแขนกลช่วยในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียดสูง โดยมีหมอเป็นคนควบคุม หรือใช้ช่วยในการจ่ายยา ทำให้เภสัชกรมีเวลาในการให้คำแนะนำมากขึ้น
  • ด้านการวิจัย - ช่วยให้มนุษย์สามารถเก็บข้อมูลในที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ เช่น ในปล่องภูเขาไฟ ใต้ทะเลลึก บนดาวอังคาร เป็นต้น
  • ด้านงานอุตสาหกรรม - ทำให้การผลิตที่ต้องการความละเอียดสูง และต้องการความรวดเร็วในการผลิต
  • ด้านความมั่นคง - เช่น เครื่องบินที่ใช้สอดแนมในการสงคราม
  • ด้านความบันเทิง - เป็นสัตว์เลี้ยง ให้ความบันเทิง เป็นเพื่อนมนุษย์

ตัวอย่างของMobile Robot
  • ASIMO ใช้ในการสำรวจดาวอังคาร
  • Sticky Bot เป็นหุ่นยนต์ที่ติดกำแพง
  • สังหาร ใช้ในการรบ หรือสำรวจใต้ทะเลเพื่อวางทุ่นระเบิด
Virtual Model
          เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมที่สามารถตอบสนองผู้ใช้หลายคนได้พร้อมกันโดยผ่านเครือข่าย โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
  • Share Space คนสามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้พร้อมกันหลายคน
  • Graphic User Interface มีการแสดงผลเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย 
  • Immediacy โต้ตอบได้ทันที
  • Interactive สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ต้องการได้เอง
  • Persistence สถานที่ในระบบยังมีอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้จะไม่ได้เข้าระบบ
  • Socialization ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกันเกิดเป็นสังคม
รูปแบบของ Virtual Model
          1. MMOPRG เป็นเกมส์อย่างหนึ่งที่ผู้เล่นสามารถเข้าไปเล่นพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ เหมือนอยู่ในโลกเดียวกัน และผู้เล่นยังสามารถเลือกบทบาทของตนเองตามต้องการได้ เช่น Warcraft, Raknarok เป็นต้น
          2. เว็บไซต์โลกเสมือน มีลักษณะคล้ายกับสังคมออนไลน์ แต่จะให้ผู้เล่นจำลองตัวเอง เน้นให้เข้ามาหาเพื่อนใหม่ เข้ามาอยู่เป็นชุมชน เช่น Clubpenquin.com, Secondlife.com
          3. เครือข่ายสังคมออนไลน์
          4. ร้านค้าเสมือนจริง
          5. การท่องเที่ยวเสมือนจริง คือ การจำลองสถานที่ต่างๆ เข้าไปในเวบไซต์ ของประเทศไทย เช่น Palace.thai.net

E-Book Reader
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้แทนหนังสือที่เป็นกระดาษ โดยมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และยังสามารถเก็บไฟล์ได้ในรูปต่างๆ จำนวนมาก เช่น JPG, MP3 เป็นต้น โดย e-book มีระบบแสดงผล 2 แบบคือ
  • LCD เหมือนกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะทำให้สายตาล้าจากการอ่านมากๆ ได้ง่าย
  • E Ink เป็นการแสดงผลที่เลียนแบบหมึกบนกระดาษ ทำให้มองเห็นภาพได้นานเหมือนการอ่านจากหนังสือจริง แต่ก็ต้องอาศัยแสงธรรมชาติในการอ่านเช่นเดียวกับหนังสือจริงด้วย

ข้อดี
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เกิดห้องสมุดเคลื่อนที่
  • สามารถพกพาหนังสือได้จำนวนมาก (เป็นพันๆ เล่ม)
  • นักเขียนใหม่มีโอกาสแสดงผลงานได้ง่ายขึ้น

ข้อเสีย
  • ยังใช้งานไม่แพร่หลาย ทำให้มีหัวข้อให้อ่านน้อย
  • มีราคาสูง
  • ยังอ่านภาษาไทยไม่ได้

ผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ
  • ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทำให้มีการบริโภคสิ่งพิมพ์ลดลง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ
  • การศึกษา ทำให้นักเรียนอยากอ่านหนังสือมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อตำราเรียน อาจารย์สามารถทำสื่อการสอนได้รวดเร็วและแก้ไขง่ายยิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีราคาสูง จึงต้องการการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา
  • สิ่งแวดล้อม ใช้ต้นไม้ลดลง ทำให้สามารถช่วยลดโลกร้อนได้

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

E-Business and E-commerce

คาบ 6 : 14 ธ.ค. 53

          วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่อง E-Business และ E-Commerce ซึ่งไม่ใช่เฉพาะการขายของทาง Internet เพียงอย่างเดียว แต่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันด้วย ทำให้ IS มีบทบาทมากยิ่งขึ้น

          อาจารย์ยกตัวอย่างถึงเคสของ Dell, Ebay และ Amazon ที่ปรับ Business Model จากการขายสินค้าทางหน้าร้าน เป็นการขายสินค้าบน Internet แทน ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถมีสินค้าที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น ทำให้ไม่เสียโอกาสในการขายอย่างเดิม ซึ่งตัวอย่างทั้งสามดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ IS ที่เข้ามาช่วยให้ลดต้นทุนในการสต็อกสินค้าลง และยังทำให้มีสินค้าให้ลูกค้าเลือกมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ประโยชน์ของ E-Business และ E-Commerce
  • Organization ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร เช่น จากเดิมที่เคยขายได้แค่ในประเทศไทย ก็สามารถขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศได้
  • Customer ช่วยทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงและจำนวนมากขึ้น
  • Society ช่วยให้องค์กรสามารถขายสินค้าในราคาที่ถูกลงได้ ทำให้ประชาชนสามารถซื้อของได้ในราคาที่ถูกลง มีเงินเหลือสำหรับจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อจำกัดของ E-Business และ E-Commerce
  • Technological ด้านเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีที่ใช้แตกต่างกัน ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้บางครั้งการติดต่อซื้อขายไม่สามารถทำได้
  • nontechnological ด้านอื่นนอกเหนือจากเทคโนโลยี เช่น เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของผู้ซื้อ ที่ใช้บัตรเครดิต

IS Major E-Commerce Mechanisms
           พูดถึงการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์กับการทำธุรกิจ โดยมีตัวอย่างดังนี้
1. Social Commerce คือ การที่คนเข้าไปแนะนำสินค้าให้เพื่อน ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการโฆษณาทีวีแบบเดิม

2. Electronic Catalogs คือ แคตตาล็อกสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำแบบนี้ เนื่องจากยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังเคยชินกับการเลือกสินค้าจากรูปแบบนี้

3. Electronic Malls คือ ห้างเสมือนที่ทำขึ้นมาเพื่อให้การซื้อสินค้าบน Internet นั้นคล้ายกับการซื้อสินค้าในโลกความจริงมากที่สุด โดยบางที่ทำเป็น Virtual life เลย

4. Online Job Market คือ การสมัครงานทางออนไลน์ ซึ่งสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก

5. Travel Services คือ การให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวบน Internet เช่น การจองห้องพักผ่าน Website

6. E-Government คือ การที่ส่วนราชการใช้ Internet และ Website เข้ามาช่วยในกระบวนการติดต่อต่างๆ  เช่น ระบบการจ่ายภาษีของประชาชน หรือการประมูลงานของรัฐ

          

          หลังจากนั้น เพื่อนก็ออกมานำเสนอ IT Hype โดยเนื้อหาในวันนี้มี 3 เรื่องคือ

Cloud Computing
           เป็นระบบที่อยู่บนเครือข่าย Internet ที่ให้บริการด้านการทำงานต่างๆ โดยผู้ใช้ไม่ต้องมีเทคโนโลยี หรือโปรแกรมต่างๆ เอง สามารถใช้ผ่านระบบนี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการได้อีกด้วย

ระบบนี้แบ่งออกเป็น 5 อย่างคือ
1. On-demand self-seveice ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
2. Broad network access (Internet)
3. Resource pooling : location independent
4. Rapid elasticity ผู้ใช้สามารถปรับเพิ่มลดขนาดของการทำงานได้ตามความต้องการ

ข้อดี
  • cost savings ลดต้นทุนในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เนื่องจากสามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆ จากระบบนี้ได้
  • Scalability สามารถกำหนดขอยเขตได้ตามความต้องการ และยังปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
  • Access to top-end IT capabilities ทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรด้าน IT ที่ดีได้ โดยไม่ต้องมีเงินลงทุนจำนวนมาก
  • Focusing on core competencies ทำให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรที่มีไปลงในสิ่งที่เป็นความสามารถหลักขององค์กรได้ ไม่ต้องแบ่งมาลงทุนด้าน IT
  • Efficient asset utilization ทำให้สามารถใชทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่ต้องลงทุนกับ IT จัดการทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่ามากที่สุด)
ข้อควรระวัง
  • Privacy and security เพราะว่าเราจะฝากข้อมูลไว้ให้คนอื่นเก็บ ทำให้อาจมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กรที่อาจรั่วไหลได้
  • Non-standard platform ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน เพราะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของแต่ละองค์กร
  • Reliability ความมั่นคงขององค์กร เพราะถ้าระบบล่ม องค์กรจะทำอย่างไร จะทำงานต่อไปอย่างไร
  • Portability สามารถใช้ได้สะดวก เพียงแค่เชื่อมต่อเข้าสู่ Internet ก็สามารถทำงานได้แล้ว


Health Informatics
          คือการนำข้อมูลด้านสุขภาพมาเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศเพื่อให้สามารถจัดการได้ดีขึ้น

แบ่งเป็น 5 ด้านคือ
  • ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม เช่น ข้อมูลประชากร, การศึกษา สังคม การเมือง
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ คือ ข้อมูลด้านสุขภาพของแต่ละคน
  • ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข เช่น ข้อมูลจำนวนทรัพยากรด้านนี้ การเงิน ครุภัณฑ์ต่างๆ
  • ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข เช่น ข้อมูลการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ การป้องกันโรค
  • ข้อมูลด้านการจัดการ เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ
ประโยชน์
  • ทำให้การบริการดีขึ้น
  • ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
  • ช่วยในการวางแผนการทำงานต่างๆ


Web 2.0
          คือ Website ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะสำคัญ 7 ประการ คือ
  1. Network as platform สามารถใช้ช่องทางผ่าน Web Browser ได้
  2. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินการกับข้อมูลนั้นได้
  3. ทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
  4. มี User interface ที่เหมือนกับ desktop mให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
  5. สามารถโต้ตอบกันได้
  6. มีความรวดเร็วและง่ายในการส่งข้อมูลมากขึ้น
  7. มีการเอา Function ใช้งานจากหลายเว็บรวมเข้าด้วยกัน
เปรียบเทียบ Web 1.0 กับ Web 2.0
           Web 1.0 จะเป็นเหมือนการสื่อสารทางเดียว คือเจ้าของเป็นคนเดียวเท่านั้นที่สามารถใส่ข้อมูลลงในเว็บนั้นได้ แต่ Web 2.0 ทั้งเจ้าของและผู้ใช้สามารถโต้ตอบกันได้

เทคโนโลยีที่ Web 2.0 ใช้
  • AJAX (Asynchronous JavaScript and XML) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คั่นกลางระหว่าง Browser กับผู้ใช้เพื่อให้ Web สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที
  • SaaS (Software as a service) เป็นการให้บริการ software ผ่านหน้า ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น คือ ไม่ต้องโหลดโปรแกรมมาลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้ได้บนเครือข่ายเลย
  • RSS (Really Simple Syndication) เป็นตัวช่วยในการบอกว่า Content ไหนมาใหม่

ตัวอย่าง Web 2.0 เช่น Facebook, Myspace, Youtube เป็นต้น

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Information Technology Economics

คาบ 5 : 7 ธ.ค. 53

          วันนี้อาจารย์มฑุปายาสมาสอนอีกครั้ง เนื้อหาในวันนี้แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ๆ คือ
1.Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox
2.Evaluating IT Investment
3.Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
4.Economic Aspects ot IT and Web-Based System
5.Managerial Issues

ส่วนที่ 1 Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox
        
          Productivity Paradox คือ การที่อัตราการพัฒนาของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการพัฒนาของสิ่งอื่นๆ ไม่รวดเร็วเท่า เช่น เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผลลัพธ์ของการใช้พัฒนานี้มีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าอัตราการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งเหตุผลของการที่สิ่งอื่นๆ พัฒนาไม่ทันเทคโนโลยีนั้นมีดังนี้
  • ผลิตผลที่เพิ่มขึ้นไม่แสดงในการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่เห็นว่าเกิดผลิตผลที่ไหนอย่างชัดเจน
  • ผลิตผลที่เกิดขึ้นถูกหักลบกับกิจกรรม IT อย่างอื่นที่ไม่สร้างผลิตผล เนื่องจากมีงบประมาณมาจากแหล่งเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถเห็นผลที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
  • ผลิตผลที่เกิดขึ้นมีต้นทุนสูงมาก ถึงมีผลิตผลเพิ่มขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่สามารถหักล้างกับต้นทุนที่เกิดขึ้นได้
  • ต้องใ้ช้เวลาในการรอให้เกิดผลิตผล ทำให้ระยะเวลาที่สั้นไม่สามารถประเมินผลิตผลออกมาได้อย่างชัดเจน
  • มีปัจจัยอื่นๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ผลิตผลที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่มากเท่าที่ควร
          ถึงแม้ Productivity Paradox จะมีข้อเสียจำนวนมาก แต่ทำไมถึงยังมีคนใช้ Productivity Paradox อยู่ เนื่องจาก
  • สามารถช่วยเพิ่มผลิตผลได้ 
  • เกิดผลทั้งทางตรง (ลดต้นทุนทันทีหลังจากเริ่มใช้งาน เช่น ค่าขนส่ง, ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น) และทางอ้อม (ไม่ได้มีผลโดยตรง เช่น มี Mk Share เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเอาไปเป็นจุดเด่นในการทำการตลาดได้)
ส่วนที่ 2 Evaluating IT Investment
         
          ในการลงทุนทางด้าน IT นั้นองค์กรมีข้อจำกัดหลายประการ ไำม่ว่าจะเป็น ข้อจำกัดด้านงบประมาณ, เวลา รวมไปถึงบุคคลากร ทำให้จะต้องมีการประเมินทางเลือกว่าจะเลือกพัฒนา IT อันไหนก่อนหลัง ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการประเมิน มีดังนี้
  • ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยการเพิ่มแรงกดดันด้านการเงิน
  • IT ไม่ใช่ทางออกของปัญหาทั้งหมด บางครั้งการแก้ปัญหาอาจจะไม่ต้องลงทุนด้าน IT ก็ได้
  • มีงบประมาณที่จำกัด
  • การลงทุนด้าน IT อาจช่วยให้หุ้นมีราคาสูงขึ้น
กระบวนการประเมิน IT 
  • หาเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
  • หามาตรวัดที่จะใช้วัด
  • ประเมิน, ทำให้เข้าใจง่าย และบันทึกเป็นเอกสารไว้
  • คำนวณทางเลือก ซึ่งอย่าลืมรวมการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย
  • สิ่งที่จะพัฒนาสนับสนุน Strategy ขององค์กรหรือไ่ม่
  • อย่า underestimate costs และ overestmate benefit
  • แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ


ความยากในการวัด แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ
     1.Productivity & Performance Gains 
  • ไม่รู้ว่าจะวัดอะไร ใช้ตัววัดไม่เหมาะสมทำให้ผลที่ออกมาไม่มีประโยชน์
  • มีผลช้า ทำให้วัดได้ยาก
  • วัดผลประโยชน์ที่ IT สร้างให้องค์กรได้ยาก
     2.Intangible Benefits
  • ยากที่จะวัดเป็นตัวเงิน เช่น ความพึงพอใจของผู้บริโภค 
  • ไม่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ ทำให้อาจลืมที่จะสนใจประโยชน์ส่วนนี้
Costing IT Investment แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
  • Fixed Cost ต้นทุน Hardware, Software
  • Transaction Cost ต้นทุนที่เสียระหว่างการดำเนินงาน เช่น Search cost, Information cost, Negotiation cost, dedcision cost เป็นต้น

Revenue Models Generate by IT & Web
  • Sales จาก E-Commerce
  • Transaction fees จาก commission จากการขาย
  • Subsciption fees จากการขาย service เพิ่มเติม
  • Advertising fees จากค่า Bannners
  • Affiliate fees จากค่า commission จากการขายโดยการที่คนกดผ่าน banners บนเว็บของเรา

Cost- Benefit Analysis
          จะลงทุนต่อเมื่อ Benefit มากกว่า Cost และต้องลำดับว่าอะไรมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน (ก่อนหลัง) ซึ่งต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
  • Identifying & estimating ต้นทุนและผลประโยชน์ทั้งหมด 
  • Expressing in common unit (ตัวเงิน)
          โดย Costs ประกอบด้วย Development cost (เช่น ค่าจ้างนักพัฒนาระบบ), Setup cost (เช่น ค่า hardware) และ Operation cost (เช่น ค่าจ้างคนดูแลระบบ)
          และ Benefits ประกอบไปด้วย Direct benefits (ผลที่เกิดจากการทำงานของระบบโดยตรง), Assessable indirect benefit (second order impact) และ Intangible benefits (ประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้ ต้องพยายามเปลี่ยนเป็นตัวเงินให้ได้)

Cost-Benefit Evaluation Techniques
  • Net profit มองกำไรก้อนสุดท้าย แต่ไม่ดูว่าเงินลงทุนเท่าไหร่ ไม่ดูช่วงเวลา
  • Paybackperiod ดูว่าคืนทุนเมื่อไหร่ แต่ไม่สนใจกำไรสุดท้าย
  • Return on investment (ROI) ดูผลลัพธ์เป็นสัดส่วนกับการลงทุน แต่ไม่มองมูลค่าของเงินตามเวลา
  • Net present value (NPV) มองมูลค่าเงินในปัจจุบัน แต่เสี่ยงตรงที่ไม่รู้จะเลือกอัตราคิดลดเท่าไหร่
  • Internal rate of return (IRR) มองหาจุดที่ NPV เป็น 0 ซึ่งจะทำให้เป็นการเลือกใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสมที่สุด

ส่วนที่ 3 Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
         
          มีหลักการที่ใช้ในการประเมินการเลือก IT จำนวนมาก โดยขอยกตัวอย่างบางหลักการ ดังนี้
  • Business case ทำเป็นเอกสารประเมินทางเลือกของ IT เน้นให้เห็นมุมมองหลายแง่มุม
  • Total cost (and benefit) of ownership คำนวณต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งต้นทุนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ acquisition cost, operation cost และ control cost
  • Benchmarks เทียบกับคนที่ดีที่สุด, คนที่อยู่ตรงกลาง และคนที่อยู่ท้ายสุดของอุตสาหกรรมฺ
  • Balance scorecard มอง 4 มุมมอง คือ customer, financial, internal business processes และ learning and growth ซึ่งแต่ละมุมมองจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย (KPIs) ที่ชัดเจน และสอดคล้องกับ mission, vision ขององค์กร

ส่วนที่ 4 Economic Aspects ot IT and Web-Based System
         
          การใช้ Web-based ในการดำเนินงานมีผลกระทบต่อการวิเคราะห์ cost-benefit กล่าวคือ จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานลงได้ แต่ก็ต้องมีการประเมินอย่างรอบคอบว่าการใช้ E-Commerce นั้นไม่ใช่เป็นเพราะต้องการมีหน้าร้านใน Internet เท่าันั้น แต่ก็ต้องมีระบบรองรับด้านหลังที่สนับสนุน

          โดยการใช้ Web-based นี้จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าลดลงเรื่อยๆ ต่างจากการขายแบบเดิมที่ ณ จุดหนึ่งหลังจากต้นทุนลดลงจนถึงขีดสุดแล้วก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

           ค่าใช้จ่ายด้าน IT นั้นมีวิธีการแบ่งผู้รับผิดชอบออกเป็น 2 แบบ คือ ส่วนกลาง(คิดเป็น Overhead) และ ผู้ใช้จริง โดยคิดตามปริมาณที่ใช้ (Chargeback) ซึ่งการให้ผู้ใช้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นจะทำให้สามารถจัดการทรัพยากรที่มีให้เหมาะสม และวางแนวทางในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรมได้อีกด้วย

ส่วนที่ 5 Managerial Issues
         
          มีทั้งหมด 7 ข้อดังนี้
1.Constant growth & change ต้องเตรียมพร้อมรองรับความเปลีี่่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี

2.Shift from tangible to intangible benefits เปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับด้านการเงินเพียงอย่างเดียว มาเป็นให้ความสำคัญด้านคุณภาพด้วย

3.Not a sure thing ต้องมีการวัดอย่างสม่ำเสมอว่าสิ่งที่ใช้อยู่นั้นยังทำงานได้เหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ เพราะอาจมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ทำให้ที่ใช้อยู่นั้นไม่เหมาะสมกับองค์กรแล้ว

4.Chargeback มองหาวิธีในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรม

5.Risk พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงโอกาสที่จะเกิด ซึ่งจะต้องลำดับความสำคัญและหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงนั้น

6.How to measure the value of IT investment? จะใช้วิธีไหนมาวัดให้เหมาะสมมากที่สุด

7.Who shoukd conduct a justification? ใครควรเป็นคนตัดสินใจว่าจะเลือก IT แบบไหน ซึ่งแต่เดิมจะเป็นฝ่ายการเงิน แต่ปัจจุบันจะเป็น Steering Committee และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Outsourcing, Offshoring, and IT as a Subsidiary

คาบ 4 : 30 พ.ย. 53

วันนี้อาจารย์มฑุปายาสมาเป็นผู้สอน เนื้อหาในวันนี้อาจารย์พูดถึงอยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือ
1.Outsourcing
2.Acquisition Process of IT Application

ส่วนที่ 1 Outsourcing 
1.เหตุผลที่ทำ outsourcing เนื่องจาก
  • ต้องการให้ความสำคัญกับงานหลักขององค์กร
  • ต้องการลดต้นทุน
  • เพื่อให้มีคุณภาพสูงขึ้น
  • ต้องการนำระบบมาใช้อย่างรวดเร็ว
  • ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว

2.ประเภทของข้อตกลง (Agreement) 
  • Transactional outsourcing agreements - outsource การทำงานที่มีลักษณะชัดเจนแล้วให้ผู้อื่นทำ
  •  Co-outsourcing alliances - ร่วมกันพัฒนากับคู่ค้า แต่มีข้อควรระวังคือ อาจโดนขโมยข้อมูลที่เป็นความลับได้
  • Strategic partnership - outsource ให้ผู้เดียวเป็นคนรับผิดชอบงานทั้งหมดด้านนี้ขององค์กร 

3.ประโยชน์ของการทำ outsource
แบ่งเป็น  6 ด้าน คือ
  • Financial เช่น ทำให้มีเงินไปใช้ในการลงทุนด้านอื่น มี cash flow
  • Technical เช่น ทำให้ได้เทคโนโลยีมาใช้อย่างรวดเร็ว
  • Management เช่น ทำให้สามารถให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถหลักขององค์กร
  • Human Resource เช่น ลดความถี่ในการสรรหาพนักงานด้าน IT เนื่องจากพนักงานด้านนี้มี Turnover rate สูง
  • Quality เช่น ทำให้ได้ Software ที่ดีมาใช้
  • Flexibility เช่น ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจได้ดีมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับงานด้านนี้มากนัก

4.ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ outsource
  • Shirking คือ ผู้ที่ทำให้จ่ายเงินเต็มจำนวน แต่ไม่ทำตามสัญญาที่ระบุไว้
  • Poaching คือ ผู้ที่ทำให้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร และนำเทคโนโลยีนี้ไปขายให้กับผู้อื่นด้วย
  • Opportunistic repricing คือ ทำสัญญาระยะยาวและผู้ที่รับจ้างทำงานไม่ทัน แต่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

5.วิธีจัดการกับความเสี่ยง
  • รู้ความต้องการของตนเอง และระบุให้ชัดเจนใน Agreement
  • แบ่งส่วนของงานที่ให้ทำ ทำทีละ phase
  • ให้แรงจูงใจ โดย based on activity
  • ทำสัญญาระยะสั้น เพื่อกระตุ้นให้มีความกระตือรือล้นในการทำงานเสมอ
  • ดูแลและควบคุมผู้ที่ถูก outsource ให้ทำงานของเราอีกที
  • เลือก outsource งานบางอย่างเท่านั้น ในส่วนที่ไม่ใช่ core หลัก หรือมีผลต่อความปลอดภัยขององค์กร

6.ต้นทุนที่เกิดขึ้น
  • ต้นทุนในการวิเคราะห์และประเมินทางเลือกว่าจะ outsource ให้กับใคร
  • ต้นทุนในการติดต่อสื่อสารกับคนที่เราจะจ้าง
  • ต้นทุนในขั้นตอนการ transfer ความรู้ต่างๆ
  • ต้นทุนในการส่งพนักงานของเราไปร่วมทำงานกับผู้ที่ทำให้
  • ต้นทุนในการโอนถ่ายงานกลับมาใช้ภายในองค์กร

          นอกจาก outsource แล้วยังมีวิธีการ Offshore outsourcing ที่สามารถนำมาใช้ได้ โดย offshore outsourcing คือ การ outsource ไปยังที่อื่น นอกเหนือจากที่ client อยู่ เช่น บริษัทอยู่ในประเทศไทย แต่ outsource ให้บริษัทในประเทศอินเดียทำงาน ซึ่งจะต้องระมัดระวังเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม

1.ปัจจัยในการพิจารณาเลือกทำ offshore outsourcing 
  • ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ กฎหมายของประเทศนั้นๆ
  • ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ
  • ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะไ้ด้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ กฎหมาย วัฒนธรรมต่างๆ ของประเทศนั้น

2.ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • คาดหวังว่าจะสามารถลดต้นทุนได้ แต่ในความเป็นจริงอาจทำไม่ได้
  • ความปลอดภัยของข้อมูล
  • อาจทำให้องค์กรไม่สนใจที่จะพัฒนางานส่วนนั้นที่ให้ผู้อื่นทำ
  • ความรู้ของธุรกิจอาจหายไป
  • ความต้องการในระบบเพิ่มขึ้นตลอดเวลา (Scope creep)
  • ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
  • ผู้ที่ดูแลงานของเราลาออก ทำให้งานหยุดชะงัก

3.ประเภทของงานที่ไม่ควรทำ offshore outsourcing
  • งานที่ยังไม่มีลักษณะการทำงานที่ชัดเจน
  • งานที่ทำให้เราเสียความสามารถในการควบคุมการทำงานหลักขององค์กร
  • งานที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญา
  • งานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญหลายด้านมาทำงานร่วมกัน offshore outsourcing อาจทำให้มีต้นทุนที่สูงกว่าการจ้างมาทำภายในองค์กร (in-house)

ส่วนที่ 2 Acquisition Process of IT Application 
1.ประเด็นที่ต้องคำนึงถึง
  • ขนาดและลักษณะของระบบที่ต้องการ
  • ต้องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามปัจจัยภายนอก
  • Application 1 ตัวจะมีผู้เข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก
  • วิธีการได้มาซึ่ง IT Application มีหลายวิธี
  • มี Approach ในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ต่างกัน

2.ขั้นตอนการได้มาของระบบ IT Application
1)Planning, identifying and justifying IT-based systems
  • Identifying สามารถมาจากทั้งผู้ใช้ระบบและคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ 
  • Justifying ต้องนำมาประมวลผลว่าจะพัฒนาระบบไหน เนื่องจากมีทรัพยากรทั้งคน เงิน และเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้ตามความต้องการของทุกฝ่ายได้
  • Planning ต้องมีความเข้าใจลักษณะของธุรกิจ สามารถระบุถึงความต้องการ ขอบเขตของงาน การทำ feasibility study กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาแต่ละขั้นตอน รวมไปถึงประเมินความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น

2)Creating an IT architecture
          วางโครงสร้างด้าน IT โดยมองที่ Information infrastructure, data architecture, network architecture ซึ่งการวางแผนที่ีดีจะช่วยใ้ห้สามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ได้ง่ายและทำงานได้ดี

3)Selecting an acquisition option
แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
          1.ฺีBuild in-house เป็นการพัฒนาระบบเองภายในองค์กร ซึ่งมีวิธีในการพัฒนา 3 แบบคือ Build from scratch (พัฒนาจากศูนย์), Build from components (พัฒนาจาก component ที่ซื้อมา) และ Integrating apllications (นำ in-house มาช่วยให้ทำงานได้ทั้งระบบ)
          2.Vendor build custom-made system 
          3.Buy existing application & install with/without modifications เป็นการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ภายในองค์กร โดยอาจจะมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการทำงานภายใน
          4.Lease เช่ามาใช้ เนื่องจากต้องการทดลองระบบ แล้วจึงตัดสินใจ ซึ่งจะดีกว่าการซื้อ เนื่องจากถ้าใช้แล้วไม่ดีก็สามารถเลิกใช้ได้ง่าย ไม่มีต้นทุนที่เสียไปแล้ว และยังมีการบริการจากผู้ให้เช่าเพิ่มเติมด้วย
          5.Enter partnership or alliance ร่วมกันทำระหว่างคู่ค้า ซึ่งมีข้อเสียคือ ต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งสองฝ่าย และอาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
          6.Use Combination ใช้หลายวิธีร่วมกัน

4)Testing, installing, integrating & deploying IT applications
          นำระบบมาทดลองใช้ ทดลองนำมาใช้ร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิม

5)Operations, maintenance & updating
          ดูว่าสามารถนำมาใช้ไ่ด้ง่าย? มี performance ดี? และขาด feature อะไรที่ยังต้องการหรือไม่ รวมทั้ง updating ระบบอยู่เรื่อยๆ

เพิ่มเติม 
Business Process Redesign
          การปรับกระบวนการทำงานเืพื่อลดกระบวนการทำงานให้ลดลง ทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น พัฒนากระบวนการดูแลลูกค้า รวมถึงเปลี่ยนไปเป็น e-business ซึ่งมีวิธีในการปรับเปลี่ยน 2 วิธีคือ
          1.BPR เป็นการเปลี่ี่ยนกระบวนการทำงานหนึ่งกระบวนการ
          2.BPM เป็นการรวมกระบวนการทำงานทั้งระบบและจัดการให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานตลอดเวลา

Managerial Issues
          ในการปรับปรุงการทำงานต่างๆ นั้น อาจมีประเด็นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ควรคำนึงถึง โดยแบ่งออกเ็ป็น 5 ด้านคือ
           1.Global & cultural ต้องเข้าใจความแตกต่างของแต่ละวัฒนธรรม ว่าต้องระมัดระวังเรื่องใด
          2.Ethical & legal issues ด้านจริยธรรม เช่น การนำระบบมาใช้อาจทำงานพนักงานบางคนไม่มีงานทำ จะทำอย่างไร
          3.User involvement ผู้ใช้ต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้ถูกต้อง
          4.Change management การนำระบบเข้าไปใช้อาจทำให้การทำงานมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
          5.Risk Management ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การพัฒนาระบบไม่สำเร็จ ต้องหาทางป้องกัน โดยเข้าใจความต้องการและระบุขอบเขตของงานที่ขัดเจนเพื่อให้สามารถวางแผนต่างๆ ได้

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Case 3 : Dollar General Uses Integrated Software

1) Explain why the old, nonintegrated functional system created problems for the company. Be specific.
          จากการที่ Dollar General เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบ IT ที่มีอยู่เดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ทำงานได้ ทำให้เกิดปัญหาหลักๆ ขึ้น 2 ประการคือ
          1.ระบบเดิมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอัตราภาษีที่เปลี่ยนไป เนื่องจาก Dollar General ได้ขยายสาขาออกไปตามรัฐๆ อื่น ซึ่งแต่ละรัฐก็มีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไป โดยระบบที่มีอยู่เดิมนั้นไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับอัตราภาษีของรัฐนั้นๆ ได้
         
          2.ระบบเดิมไม่สามารถเชื่อมโยงการทำงานภายในระบบได้โดยอัตโนมัติ จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ Dollar General  ทำให้ Dollar General มีจำนวน purchasing order ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในระบบเดิมนั้นการตรวจสอบเอกสารต่างๆ ตั้งแต่ purchasing orders, invoices และ receiving พนักงานจะต้องเป็นผู้กระทำเอง ระบบไม่สามารถตรวจสอบให้ได้โดยอัตโนมัติ ทำให้เมื่อ Dollar General มี purchasing order ที่เพิ่มมากขึ้น พนักงานจึงไม่สามารถตรวจสอบเอกสารเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วเช่นเดิม และมีโอกาสในการเกิดความผิดพลาดเพิ่มมากขึ้นด้วย 

2)The new system cost several million dollars. Why, in your opinion, was it necessary to install it?
          การที่บริษัทตัดสินใจใช้ระบบใหม่เนื่องจากระบบใหม่สามารถช่วยอำนวจความสะดวกในการทำงานมากขึ้น โดยจุดเด่นของระบบใหม่นี้คือ
          1.ระบบสามารถรวมข้อมูลจากระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านการเงิน, การตลาด, การขาย รวมไปถึงข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานระหว่างฝ่ายต่างๆ มีความสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น
         
          2.ระบบสามารถให้พนักงานเข้าไปปรับปลี่ยนข้อมูลได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น พนักงานสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลส่วนที่ตนเองต้องการได้ เช่น ข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ที่พนักงานสามารถเข้าไปวางแผนการทำงานของตนเองได้ รวมถึงประโยชน์ด้านเงินเดือนด้วย

3)Lawson Software Smart Notification Software (lawson.com) is being considered by Dollar General. Find information about the software and write an opinion for adoption or rejection.
           Smart Notification Software เป็นโปรแกรมที่ช่วยคัดกรองข้อมูลที่เหมาะสม ถูกต้อง และถูกเวลาให้กับผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งโปรแกรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Dollar General  เนื่องจากจะช่วยทำให้พนักงานแต่ละคนสามารถเลือกข้อมูลมาใช้ทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมข้อมูลที่ต้องใช้จากระบบต่างๆ (การเงิน, การตลาด เป็นต้น) มาอย่างครบถ้วน ทำให้ในการทำงานอย่างหนึ่งจะมีข้อมูลครบถ้วนทุกด้านมาใช้ ส่งผลต่อความถูกต้องแม่นยำของผลงาน และความรวดเร็วในการทำงานอีกด้วย

4)Another new product of Lawson is Services Automation. Would you recommend it to Dollar General? Why or why not?
          Services Automation เป็นโปรแกรมช่วยจัดการทรัพยากร เวลา ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมไปถึงด้านการเงินขององค์กร ซึ่งช่วยให้การทำงานภายในองค์กรมีความราบรื่นมากขึ้น โดยส่วนประกอบหลักของ Services Automation มี 3 ส่วนคือ Opportunity management, Project Management และ Resource management ที่จะช่วยในการจัดการงานหลักขององค์กร ประมาณการกำลังการผลิต รวมไปถึงการวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนและโอกาสต่างๆ โดยสรุปแล้ว Services Automation จะช่วยในการให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการทำงานต่างๆ ช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Dollar General ก็ควรที่จะนำโปรแกรมนี้มาใช้ เนื่องจากจะช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่สำคัญ ทำให้สามารถวางกลยุทธ์ในการตอบโต้คู่แข่งได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Transaction Processing System

คาบ3: 22 พ.ย. 53

           วันนี้อาจารย์พูดถึง Transaction Processing System (TPS) ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญมากที่สุดขององค์กร เนื่องจากเป็นระบบที่จะเก็บข้อมูลการทำงานทุกอย่างไว้ แล้วจึงสรุปให้ระบบอื่นนำไปประมวลผลอีกที ทำให้หากข้อมูลในระบบนี้มีความผิดพลาดก็จะส่งผลให้การนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ต่างๆ จะมีความผิดพลาดทั้งหมด (Garbage In - Garbage Out) ซึ่งระบบนี้ส่วนมากจะใช้กับการทำงานที่ซ้ำกันทุกๆ วัน

คุณสมบัติของระบบ
  • ต้องมีความน่าเชื่อถือ คือ วิธีการป้อนข้อมูลเข้าไปจะต้องเป็นวิธีเดียวกัน
  • ใช้รองรับกระบวนการประมวลผลภายใน เพราะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กร
  • ต้องมีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก 
  • ไม่ต้องการความซับซ้อนในการคิดคำนวณ คือ คิดคำนวณเพียงการสรุปข้อมูลที่มี
  • การประมวลผลต้องมีความน่าเชื่อถือสูง

วงจรของการประมวลผล
          1.Data Entry คือ การบันทึกข้อมูลเข้าไป

          2.Transaction Processing คือ การประมวลผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
                Real Time คือการประมวลผลทีันที เช่น Online
               Batch คือ การประมวลผลเป็นรอบๆ เช่น รวบรวมไว้ประมวลผลครั้งเดียวตอนสิ้นวัน
          *จะเลือกการประมวลผลประเภทไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ถ้าข้อมูลจำเป็นที่จะต้องทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็ให้เลือกใช้แบบ Real time เช่น ร้านสะดวกซื้อต่างๆ แต่ถ้าหากสามารถรอการประมวลผลได้ ก็ให้เลือกใช้แบบ Batch เช่น การเคลีย์เช็คของธนาคาร ที่ต้องใช้เวลาสองวันเืพื่อรอให้เงินเข้าบัญชี

           3.Database Updating คือ การทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่ 2 อย่าง คือ ความถูกต้องของข้อมูล และความเป็นปัจจุบันของข้อมูล

          4.Document and Report Generation คือ การออกรายงานให้ถูกต้อง ซึ่งรายงานนี้เป็นเพียงการแสดงข้อมูลทั้งหมด ไม่ได้มีการประมวลผลที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น
        
           5.Inquiry Processing คือ การสอบถามข้อมูลจากระบบ การค้นหาข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ระบบจะนำเสนอนี้จะเป็นในรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพื หรือแสดงผลบนหน้าจอ และยังอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อ เช่น Intranet, Extranet เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของระบบ
  • เพื่อให้สามารถตอบคำถามประจำวันได้
  • เพื่อผลิดและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบอื่นๆ

ตัวอย่างระบบ TPS
สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
          1.สารสนเทศทางการบัญชี เช่น Order Entry System, Acoount Receivable/Account Payable เป็นต้น
               
          2.สารสนเทศทางการตลาด เช่น การจัดการฐานข้อมูลลูกค้า, ระบบสารสนเทศงานขาย เป็นต้น

          3.สารสนเทศงานด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น การประมวลผลเงินเดือน, คลังข้อมูลทักษะพนักงาน เป็นต้น
             
         หลังจากพักเบรก อาจารย์ก็พูดคุยกันถึงเรื่อง Case : Intelligent Transportation Systems ที่สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระบบดังนี้

1.ระบบการจัดการจราจร
          ควบคุมการจราจรและสัญญาณไฟจราจร การจัดการอุบัติเหตุ โดยการใช้เซ็นเซอร์และเทคโนดลยีทางการสื่อสารเพื่อตรวจสอบอุบัติเหตุ รวมถึงตรวจนับจำนวนยานพาหนะเพื่อคำนวณรอบสัญญาณไฟให้มีความสอดคล้องกัน

2.ระบบการให้ข้อมูลข่าวสารการเดินทาง
          เป็นระบบทั่ให้ข้อมูลข่าวสารก่อนการเดินทาง แนะนำเสน้ทาง สภาพถนน สภาการจราจร และสภาพแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีด้านวิทยุสื่อสารในการประมวลผลเพื่อให้ได้อัตราเร็ว จำนวน และประเภทรถ

3.ระบบความปลอดภัยในยานพาหนะและการจัดการเหตุฉุกเฉิน
          ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ มีการควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ระบบPre-crash safety เพื่อเตือนและหลีกเลี่ยงการชน

4.ระบบการบริหารจัดการรถสินค้า
          ช่วยเพิ่มผลิตผลและความปลอดภัยในอุตสาหกรรมและการขนส่งสินค้า ใช้เทคโนโลยีในการตรวจปล่อยรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดการและติดตามรถบรรทุก และตรวจสอบความปลอดภัย

5.ระบบการจัดการรถขนส่งสาธารณะ
          บอกตำแหน่งของยานพาหนะอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถทราบเวลารอรถโดยสารสาธารณะ

6.ระบบชำระค่าโดยสาร ค่าผ่านทางอัตโนมัติ
          จ่ายเงินค่าโดยสารรถโดยสารสาธารณะและเก็บค่าผ่านทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เทคโนโลยี RFID
          ตอนท้ายคาบ เพื่อนได้ออกมานำเสนอ IT Hype 4 เรื่อง ดังนี้

RFID
           RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification คือ ระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติแบบไร้สาย ซึ่งทำงานผ่านคลื่นวิทยุ แต่เดิมผลิตเพื่อใช้ในการทำสงครามของรัสเซีย ต่อมาก็มีการพัฒนาใช้ในการค้า เช่น ระบบการขโมยของในห้างสรรพสินค้า และเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อ P&G นำมาใช้ในการติดตามการส่งสินค้า

           ลักษณะสำคัญของ RFID คือ สามารถอ่านค่าได้จากระยะไกล ซึ่งอุปกรณ์ RFID แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Tag หรือ Transponder (ตัวส่งสัญญาณ) และ Reader หรือ Interrogator (ตัวอ่านค่าสัญญาณ) โดย Tag จะเป็นตัวส่งสัญญาณเข้าที่ Reader และ REader ก็จะอ่านข้อมูล สื่อสารแบบไร้สาย และส่งข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์

ข้อดี คือ สามารถใส่ข้อมูลได้จำนวนมาก
ข้อเสีย คือ มีปัญหาในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy)

การนำไปใช้งานธุรกิจ
แบ่งเป็น 3 ด้านคือ
  • Supply Chain โดยใช้ส่งข้อมูลซึ่งกันและกันถึง Suppplier 
  • Logistic โดยใช้ติดตามสินค้า เพื่อให้ทราบว่าสินค้าจัดส่งไปถึงไหนแล้ว
  • Customer Relationship โดยใช้เก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อให้สามารถเสนอสินค้าที่ลูกค้าใช้เป็นประจำไ้ด้

แนวโน้มในอนาคต
  • พัฒนาให้สามรถสื่ิอสารได้ 2 ทาง ระหว่าง  Tag และ Reader 
  • พัฒนาให้ดึงข้อมูลเฉพาะส่วนได้
  • พัฒนาเพิ่มระบบความปลอดภัยของข้อมูล

Speech Recognition
          เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความตัวอักษร โดยสามารถเข้าใจคำพูดได้ถูกต้องเกือบ 100% (น้ำเสียง ลักษณะการพูดไม่ส่งผลต่อการแปลความ)

ข้อดี
  • สามารถใช้ได้ในสภาการณ์ทั้งปกติและผิดปกติ เช่น สำหรับคนปกติที่มือไม่ว่างไม่สามารถพิมพ์ข้อความได้ 
  • ช่วยประหยัดเวลามากขึ้น 
  • อำนวยความสะดวกมากขึ้น

ข้อเสีย
  • ต้องออกเสียงอักขระให้ชัดเจนและถูกต้อง
  • ขณะใช้ต้องไม่มีเสียงรบกวน
  • โปรแกรมอาจเกิด Error ได้ เช่น ถอดคำผิดได้คำที่มีเสียงใกล้เคียงกัน


การนำไปใช้
  • Health Care เช่น ฝ่าย Admin หรือ หมอที่งานยุ่ง
  • การทหาร เช่น ระบบสั่งการนักบินอัตโนมัติ
  • อื่นๆ เช่น การใช้งานรถยนต์ มือถือ, การพิมพ์รายงานในศาล และ การสั่งงานเครื่งอใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น

Vitualization
           การทำให้เครื่อง Server สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการหลายระบบได้ในเครื่องเดียวกัน โดยการสร้างชั้น (Layer) ขึ้นมา

ข้อดี
  • ลดปริมาณการใช้เครื่อง Server
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ทำให้สมารถใช้ระบบปฏิบัติการได้หลากหลาย
  • มีความปลอดภัยในการดูแลข้อมูลขององค์กร
  • สามารถจำลองสถานการณ์เพื่อทดสอบ Application ในหลายสภาพแวดล้อมการทำงานได้
  • แก้ไขปัญหาความร้อน

ข้อเสีย
  • ต้องเสียทรัพยากรบางส่วนในการสร้าง Layer
  • มีผู้ใช้จำนวนน้อย ทำให้มีปัญหาในการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ
  • เป็นเทคโนโลยีใหม่ ทำให้เวลามีปัญหาจะต้องพึ่งพิงผู้ซ๋อมแซมจากต่างประเทศ
  • ราคาแพง

การนำไปใช้ในธุรกิจ
  • Server Consolidation คือ การรวม server ให้มาอยู่ด้วยกันเพื่อใช้งาน Software ร่วมกัน มีข้อเสียคือ ถ้าตัวนี้ไม่สามารถทำงงานได้ ก็จะส่งปลกระทบทั้งหมด
  • Disaster Recovery คือ การใช้กู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 

แนวโน้มในอนาคต
          พัฒนาโดยเน้นความสามารถด้านการใช้งานที่ง่าย มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

How IT can help forensic accounting?
          Forensic accountign คือ การตรวจสอบการทุจริตในองค์กร

          โดยปกติแล้วรูปแบบการทุจริตที่มักจะเกิดขึ้น เช่น การปลอมแปลงโดยใช้คอมพิวเตอร์, การทำให้โปรรแกมคอมพิวเตอร์เสียหาย, การทำลายระบบคอมพิืวเตอร์ รวมไปถึงการลักลอบเข้าไปในเครือข่ายโดยปราศจากอำนาจ ซึ่งการทุจริตเหล่านี้สามารถทำผ่านเทคนิคต่างๆ เช่น Phising, IP Spoofing, Packet Sniffing เป็นต้น

         ซึ่งการทำ Forensic นั้น สามารถทำได้โดย รวบรวมหลักฐานต่างๆ เช่น จาก save file, temporary file, meta data เป็นต้น และควรเก็บข้อมูลไว้ในที่ที่ปลอดภัย เมื่อต้องการเอาไปวิเคราะห์ก็ควรใช้ file ที่เป็นตัว Copy ไม่ควรทำบน file ตัวจริง

         ตัวอย่าง Software ที่นิยมใช้ในการทำ Forensic เช่น EnCase, Access Data Ultimate Toolkit, VOGON เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Case 2 : Buliding an E-Business at Fedex Corporation

1) Identify the networks cited in this case
           Fedex ได้มีการนำระบบ E-Shipping และ E-Commerce เข้ามาใช้ โดยทั้งสองระบบนี้ทำงานอยู่บนโครงสร้างที่ Fedex เรียกว่า Fedex Direct Link ซึ่งโครงสร้างนี้อาศัยเครือข่าย 4 ชนิดในการทำงานคือ 

          1.VPN หรือ Virtual Private Network คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้เชื่อมต่อกันภายนอกอาคาร(WAN) โดยผ่านเครือข่าย Internet ซึ่งทำให้สามารถเข้าระบบจากภายนอกเครือข่ายได้โดยผ่านการ Log in ซึ่ง VPN จะช่วยกำหนดหมายเลข IP ให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นให้เสมือนว่าอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกัน ทำให้สามารถอยู่บนเครือข่ายเดียวกันได้จากทุกมุมโลก ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการติดตื่อสื่อสารระหว่างสาขาต่างๆ จากแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้ Fedex จากทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันได้

          2.Internet คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ระดับโลกที่ช่วยให้เครือข่ายเล็กๆ ต่างๆ นั้นสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเมื่อเข้ามาภายในเครือข่ายนี้แล้วจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ บนเครือข่ายได้ทั้งหมด ซึ่งสำหรับ Fedex แล้วก็ช่วยทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาดูข้อมูลการขนส่งผ่านทางหน้า Webpage ที่ Fedex สร้างขึ้นได้

          3.Leased-line คือ การบริการเช่าวงจรสื่อสารความเร็วสูง(บริการรับส่งข้อมูล ภาพ วิดิโอในระบบดิจิตอล) ด้วยการเชื่อมสัญญาณในลักษณะจุดต่อจุด โดยที่ไม่มีการจำกัดเวลา และปริมาณการใช้ ซึ่งจะช่วยทำให้การรับข้อมูลช่าวสารต่างๆ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ Fedex มีช่องสัญญาณของตนเองที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล ทำให้การส่งข้อมูลรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

          4. VAN หรือ Value Added Networks คือ เครือข่ายส่วนบุคคลซึ่งให้บริการมากกว่าการติดต่อสื่อสารปกติ เช่น การโอนถ่ายข้อมูลต่างๆ (EDI: Electronic Data Interchange), บริการร E-mail ที่ปลอดภัยกว่า รวมไปถึง การบริการการเข้ารหัส (Encryption:การเปลี่ยนข้อความ Plain text เป็น Cipher text) ตามแต่ลูกค้าจะต้องการ


2.How does IT improve the performance of Fedex?
  • ช่วยให้การสื่อสารและการร่วมมือต่างๆ ระหว่างส่วนต่างๆ ทั้งกระบวนการขาย (Fedex กับ ลูกค้า) และภายใน Supply Chain ดีขึ้น
  • ช่วยให้กระบวนการทำงานของ Fedex มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีต้นทุนระหว่างการดำเนินงานลดลง และมีความรวดเร็วในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
  • ทำให้จากเดิมที่ Fedex เป็นเพียงผู้ขนส่งสินค้า (Shipper) เปลี่ยนมาเป็นผู้ให้บริการด้าน Logistic ซึ่งจะช่วยทำให้การบริการของ Fedex ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ทำให้ Fedex มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีรายได้และกำไรเพิ่มมากขึ้น
  • เปลี่ยนจาก Econoy Shipping เป็น E-business Logistic ซึ่งทำให้การบริการของ Fedex ครอบคลุมมากขึ้น กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรธุรกิจต่างๆ 

3. In what ways are personalization and customization provided?
          Fedex มีระบบ Hardware และ Software ที่หลากหลาย เหมาะสำหรับลูกค้าแต่ละประเภท โดย Hardware และ Software นี้จะดำเนินการผ่านระบบ E-Commerce ของ Fedex ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือก Function ต่างๆ ได้ ตั้งแต่กระบวนการสั่งสินค้า ไปจนถึงการนำระบบของ Fedex ไปประยุกต์เข้ากับระบบการทำงานภายในบริษัท ซึ่งการ Customize นี้นับว่าเป็นจุดแข็งของ Fedex ที่ทำให้ประสบความสำเร็จทุกวันนี้


4.What are the benefits to the customers?
          การนำ IT เข้ามาช่วยในการจัดการการดำเนินงานต่างๆ ของ Fedex นั้นช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตามการขนส่งสินค้า การเลือกการส่งของให้เหมาะสมกับองค์กรของตน รวมไปถึงการจัดการด้าน Logistic ที่จะสามารถ Outsource ให้กับ Fedex ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการได้ ทำให้ลูกค้าสามารถ Focus กับธุรกิจหลักของตนเอง ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานของลูกค้ามีประิสิทธิภาพ มีรายได้ และผลกำไรมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์กร

คาบ2: 16 พ.ย. 2553

          วันนี้อาจารย์เริ่มคาบเรียนด้วยการยกเคส Mary Kay ซึ่งเป็นบริษัทขายตรงเครื่องสำอางค์ (คล้ายมิสทีน) เพื่ออธิบายถึงการใช้ระบบ IS ภายในองค์กร ซึ่งมีตั้งแต่ ระบบ Inventory, Social Media รวมไปถึงการสั่งซื้อทางออนไลน์ อาจารย์ได้ชี้ให้เห็นว่า IS เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของทุกฝ่ายในองค์กร

Definition ของ IS
          คือการนำเอา Raw Data มาผ่านกระบวนการแล้วแปลงออกมาเป็น Information เพื่อสร้าง New Data ขึ้นมาใหม่ โดยในระหว่างทางจะได้ Knowledge ออกมา ดังแผนภาพ
ชนิดของระบบสารสนเทศ
          1.Personal and Productivity Systems - เป็นเครื่องมือเกี่ยวกับสารสนเทศส่วนตัวของแต่ละคน เช่น โทรศัพท์มือถือ
          2.Transaction Processing Systems - เป็นระบบที่คอยดูแล transaction ทั้งหมดภายในองค์กร ดูแลการทำงานในแต่ละวัน
          3.Functional and Management Information Systems - เป็นระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ แต่ละหน่วย ซึ่งจะทำงานตามแนวดิ่ง
          4.Enterprise Systems (Integrated) - เป็นระบบที่เชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรเข้าด้วยกัน รวมไปถึงเชื่อมโยงไปสู่ภายนอกองค์กร เช่น ERP
          5.Interorganizational Systems - เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อหน่วยงานหลายๆหน่วยงานเข้าด้วยกัน โดยจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสาขา หรือระหว่างประเทศ เช่น ระบบสารสนเทศที่ใช้ติดต่อกับบริษัทแม่ในต่างประเทศ
          6.Global Systems - เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระดับโลก
          7.Vary Large and Special Systems - เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานระดับโลก ซึ่งจะใช้ภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่) เช่นระบบจองตั๋วเครื่องบิน

          นอกจากนั้น อาจารย์ยังแนะนำระบบสารสนเทศอื่นๆ ให้รู้จักคร่าวๆ ด้วย ดังนี้
          Decision Support Systems (DSS) - ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจของพนักงาน โดยการเอาข้อมูลมาประมวลผล
          Group Decision Support Systems (GDSS) - ระบบสารสนเทศที่ช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          Excutive Support Systems (ESS) - ระบบสารสนเทศที่ช่วยระดับ Excutive ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลภายนอกองค์กรเข้ามาประกอบด้วย
          Enterprise Systems - ระบบสารสนเทศที่ใช้เก็บข้อมูลภายในองค์กร และทำให้ข้อมูลสามารถส่งถึงกันได้
          Supply Chain Management Systems - ระบบสารสนเทศที่ช่วยจัดการข้อมูลทั้งกระบวนการ
          Knowledge Management Systems - ระบบสารสนเทศที่ใช้เก็บองค์ความรู้ภายในองค์กร เพื่อให้องค์ความรู้ต่างๆ ไม่ขึ้นอยู่กับตัวพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น (ถ้าหากมีพนักงานลาออกองค์ความรู้ก็จะไม่หายไปกับพนักงาน)

และระบบอื่นๆ เช่น Web2.0, Emerging Computing Environment, Open Source Code Software เป็นต้น

          นอกจากนี้ ในตอนท้ายของคาบ เพื่อนได้ออกมานำเสนอ IT Hype 3 เรื่องดังนี้

Electronic Paper
          นวัตกรรมใหม่ที่มีลักษณะเป็นเหมือนกระดาษ แต่เป็นแสดงผลได้เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อได้เปรียบคอมพิวเตอร์ธรรมดาคือ
  • สามารถอ่านกลางแจ้งได้ เพราะจอแสดงผลสามารถสะท้อนแสงได้ปกติ
  • สามารถบันทึกข้อความหรือภาพได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
  • สามารถเปลี่ยนหน้าได้สะดวกเหมือนกับกระดาษปกติ
  • มีน้ำหนักเบา ทนทานและดค้งงอได้

Tablet PC
          เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก สามารถใช้งานได้ทุกที่ตามต้องการ

ข้อได้เปรียบ Laptop ทั่วไป
  • มีน้ำหนักเบากว่า
  • สามารถวางราบกับโต๊ะได้ ไม่บดบังทัศวิสัยในการทำงาน

ข้อเสียเปรียบ Laptop
  • มีขนาดหน้าจอเล็กกว่า
  • มีราคาแพงกว่า
  • มี Spec ที่ต่ำกว่า (ไม่สามารถใช้งานกับโปรแกรมที่ต้องการ Spec สูงได้)

ตัวอย่าง Tablet PC เช่น Plam Pilot, iPad เป็นต้น

Green IT
          คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโดยปกติแล้ว IT จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ใช้พลังงานมาก มีอันตรายจากการผลิตชิ้นส่วน รวมไปถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของการใช้ Green IT
  • สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร
  • ช่วยลดต้นทุนในเรื่องเทคโนโลยี
  • ใช้ IT ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  • ทำให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีอีกด้วย

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันและองค์กรธุรกิจ

คาบ1: 9 พ.ย.53

          เนื้อหาบทเรียนในวันแรกเกี่ยวกับ ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของ Information Technology และ Information System ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยจะสังเกตเห็นได้จากวิธีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อาจารย์พูดถึงการเริ่มต้นวันด้วยการอาบน้ำที่เปลี่ยนจากการตักน้ำอาบมาเป็นฝักบัวต่างๆ เทคโนโลยีเข้ามาแทรกอยู่ในชีวิตประจำของผู้คนในปัจจุบันมากขึ้นโดยที่เราไม่อาจจะรู้สึกตัว

          เมื่อมองถึง Information Technology (IT) และ Information System (IS) กับการดำเนินงานในองค์กรหนึ่งนั้น IT และ IS ก็เปรียบเสมือนระบบเลือดขององค์กรที่มีหน้าที่ช่วยให้การทำงานในระบบต่างๆ ให้สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่า IT และ IS เป็นศูนย์กลางของข้อมูลที่จะใช้ในการดำเนินงานทั้งหมดภายในองค์กร

          นอกจากจะเป็นเหมือนศูนย์กลางของข้อมูลแล้ว IT และ IS ยังคงเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าขึ้นไป ความท้าทายของ IT และ IS นั้นอยู่ที่การอัพเดทให้ทันตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ในมุมมองขององค์กรนั้น การอัพเดทการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบของการลงทุนในเทคโนโลยีบางชนิด ซึ่งอาจจะไม่สะท้อนออกมาผลตอบแทนต่อองค์กรที่ชัดเจนในรูปของตัวเงิน แต่ IT และ IS จะเป็นเหมือนการช่วยเสริมให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ โดยผลลัพธ์นั้นจะสะท้อนออกมาที่ผลการดำเนินงานของส่วนอื่นๆ

          ในตอนท้าย อาจารย์พูดถึง IT และ IS ในรูปแบบของสินค้าและการนำไปใช้ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Digital Economy (สินค้าหลายอย่างเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง MP3), BPM (Business Performance Management) รวมไปถึง Green IT (Trend ที่กำลังมาแรงสำหรับการใช้ IT ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)

          ภาพรวมของคาบเรียนนี้ อาจารย์พูดถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของ IT และ IS ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวัน หรือในองค์กรธุรกิจ และคาดว่า ในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีจะกลายเป็นเหมือนอีกปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิต เหมือนกับไฟฟ้าที่ปัจจุบันกลายเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับทุกคนไปแล้ว