นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

M-Commerce

คาบ 7 : 21 ธ.ค. 53

          วันนี้อาจารย์พูดถึงการทำ M-Commerce หรือ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) ต่างๆ โดยมีเนื้อหาต่อไปนี้

Mobile Computing
          แรกเริ่มเดิมที Mobile Computing ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เด็กนักเรียนในชนบทของประเทศกำลังพัฒนาได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจึงพัฒนามาอยู่ในกลุ่มของโทรศัพท์มือถือ เช่น iPhone (ซึ่งเคยออกสินค้าตัวเดียวกันนี้มาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะผู้คนยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าขนาดนี้)

ทำไม M-Commerce ถึงสำคัญ??
  • Ubiquity - สามารถเข้าได้ทุกหนทุกแห่ง ไปได้ทุกที่ มีความสะดวกมากขึ้น เพราะติดตัวเราตลอดเวลา
  • Convenience - มีเครือข่ายให้เข้าได้ทุกที่ ไม่ต้องรอมีสายโทรศัพท์แล้วจึงสามารถเข้าเครือข่ายได้
  • Instant Connectivity - สามารถเข้าถึง Internet, Intranet, other mobile device ได้อย่างรวดเร็ว
  • Personalization - สามารถ customize ให้เป็นไปตามความต้องการ ความชอบของตนเองได้
  • Localization of product & service - สามารถเอาข้อมูลมาเป็นข้อมูลส่วนตัวได้

ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของ M-Commerce
  • Widespread availability of mobile devices - มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายจำนวนมาก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
  • No need for pc - ผู้คนต้องการใช้ pc น้อยลง
  • Handset culture - วัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป
  • Declining prices, increased functionalities - มีราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • Improvement of bandwidth - มีการพัฒนา bandwidth ที่รองรับได้ดีขึ้น เช่น 3G, 3.5G
  • Centrio chip - มีการพัฒนา chip ให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น กินไฟน้อยลง
  • Availability of internet access in automobile - สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ง่ายขึ้น
  • Networks - เครือข่ายรองรับมากขึ้น เช่น  3G, 4G, Wi-Fi
  • The service economy - มีการให้บริการผ่าน internet มากขึ้น
  • Vendor's push - ผู้ผลิตมีการผลักดันให้มีการใช้มากขึ้น
  • The Mobile workforce - แรงงานมีการเคลื่อนที่มากขึ้น
ตัวอย่าง Business Model ของ M-Commerce
Mobile Shopping, mobile Banking, Information based service, Mobhile Auction, Mobile Travel information and booking

Infrastructure ที่ใช้
  • WAP (Wireless Application Protocol) - เพื่อสร้าง standard ให้กับการสื่อสารผ่านเครือข่าย
  • Markup language - เช่น WML, XHTML
  • Mobile Development - เช่น .NET compact, JAVA ME, Python
  • Mobile Emulators - ตัวช่วยที่ทำให้โปรแกรมจากคอมพิวเตอร์สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ Mobile ได้
  • Microbrowsers - เช่น Android, Safari, IE Mobile, Firefox Mobile
  • HTML5 - เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้หน้าเว็บสามารถ update ตัวเองจากการพัฒนาเพิ่มเติมของ developer ได้

ตัวอย่างการทำ M-Commerce
  • Mobile Banking ของ K-Bank
  • iTunes, App Store ของ Apple
          ในช่วงนี้อาจารย์ได้เล่าถึงการทำ M-Commerce ของ Apple โดยเป็นการเน้นการขาย Content ผ่าน iTunes ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาช่วยพัฒนา Content ต่างๆ ได้ ทำให้ผู้พัฒนารายย่อยก็มีช่องทางในการขายสินค้าที่พัฒนาขึ้นมา รวมทั้ง Apple ก็ยังมี Content ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี เนื่องจากผู้พัฒนาก็เป็นผู้บริโภคเองด้วย และยังทำให้ Apple สามารถเปลี่ยนวิธีการบริโภคสินค้าประเภทเพลงได้ สามารถขายเพลงในราคาถูก และยังมีผู้ผลิต Accessories อีกจำนวนมากที่ผลิตให้กับ Apple เพียงอย่างเดียว ซึ่งการทำเช่นนี้เรียกว่า Ecosyystem ซึ่งทำให้ Apple มีการ Intergrate Supply Chain ได้ดีกว่าบริษัอื่น ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน

  • QR Code
  • GPS
  • ForuSquare
  • GeoTagging
          หลังจากนี้เพื่อนก็ได้ออกมานำเสนอ IT Hype โดยวันนี้มี 3 เรื่อง ดังนี้

Mobile Robot
           เป็นหุ่นยนต์ที่มีโครงสร้างแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำงานโดยการสั่งการของคน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามเกณฑ์ต่างๆ ได้ดังนี้

          ตามการเคลื่อนที่ แบ่งเป็น
           1. Fixed Robot หรือหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ จะมีโครงสร้างที่ใหญ่โต มีแหล่งจ่ายไฟจากภายนอกตัวหุ่นยนต์ เช่น หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือหุ่นยนต์ในวงการการแพทย์ เป็นต้น
          2. Mobile Robot หรือหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวอิสระ มีขนาดเล็ก เคลื่อนที่ในแนวราบ เน้นการทำงานในสภาพภูมิประเทศที่ทุรกันดาร ปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีการเดินเลียนแบบมนุษย์มากขึ้น

          ตามรูปลักษณ์ภายนอก แบ่งเป็น 6 รูปแบบ เช่น Humanoid, Android, Gynoid เป็นต้น หุ่นยนต์พวกนี้จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายมนุย์

ประโยชน์ของMobile Robot
  • ด้านการแพทย์ - เป็นแขนกลช่วยในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียดสูง โดยมีหมอเป็นคนควบคุม หรือใช้ช่วยในการจ่ายยา ทำให้เภสัชกรมีเวลาในการให้คำแนะนำมากขึ้น
  • ด้านการวิจัย - ช่วยให้มนุษย์สามารถเก็บข้อมูลในที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ เช่น ในปล่องภูเขาไฟ ใต้ทะเลลึก บนดาวอังคาร เป็นต้น
  • ด้านงานอุตสาหกรรม - ทำให้การผลิตที่ต้องการความละเอียดสูง และต้องการความรวดเร็วในการผลิต
  • ด้านความมั่นคง - เช่น เครื่องบินที่ใช้สอดแนมในการสงคราม
  • ด้านความบันเทิง - เป็นสัตว์เลี้ยง ให้ความบันเทิง เป็นเพื่อนมนุษย์

ตัวอย่างของMobile Robot
  • ASIMO ใช้ในการสำรวจดาวอังคาร
  • Sticky Bot เป็นหุ่นยนต์ที่ติดกำแพง
  • สังหาร ใช้ในการรบ หรือสำรวจใต้ทะเลเพื่อวางทุ่นระเบิด
Virtual Model
          เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมที่สามารถตอบสนองผู้ใช้หลายคนได้พร้อมกันโดยผ่านเครือข่าย โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
  • Share Space คนสามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้พร้อมกันหลายคน
  • Graphic User Interface มีการแสดงผลเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย 
  • Immediacy โต้ตอบได้ทันที
  • Interactive สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ต้องการได้เอง
  • Persistence สถานที่ในระบบยังมีอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้จะไม่ได้เข้าระบบ
  • Socialization ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกันเกิดเป็นสังคม
รูปแบบของ Virtual Model
          1. MMOPRG เป็นเกมส์อย่างหนึ่งที่ผู้เล่นสามารถเข้าไปเล่นพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ เหมือนอยู่ในโลกเดียวกัน และผู้เล่นยังสามารถเลือกบทบาทของตนเองตามต้องการได้ เช่น Warcraft, Raknarok เป็นต้น
          2. เว็บไซต์โลกเสมือน มีลักษณะคล้ายกับสังคมออนไลน์ แต่จะให้ผู้เล่นจำลองตัวเอง เน้นให้เข้ามาหาเพื่อนใหม่ เข้ามาอยู่เป็นชุมชน เช่น Clubpenquin.com, Secondlife.com
          3. เครือข่ายสังคมออนไลน์
          4. ร้านค้าเสมือนจริง
          5. การท่องเที่ยวเสมือนจริง คือ การจำลองสถานที่ต่างๆ เข้าไปในเวบไซต์ ของประเทศไทย เช่น Palace.thai.net

E-Book Reader
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้แทนหนังสือที่เป็นกระดาษ โดยมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และยังสามารถเก็บไฟล์ได้ในรูปต่างๆ จำนวนมาก เช่น JPG, MP3 เป็นต้น โดย e-book มีระบบแสดงผล 2 แบบคือ
  • LCD เหมือนกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะทำให้สายตาล้าจากการอ่านมากๆ ได้ง่าย
  • E Ink เป็นการแสดงผลที่เลียนแบบหมึกบนกระดาษ ทำให้มองเห็นภาพได้นานเหมือนการอ่านจากหนังสือจริง แต่ก็ต้องอาศัยแสงธรรมชาติในการอ่านเช่นเดียวกับหนังสือจริงด้วย

ข้อดี
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เกิดห้องสมุดเคลื่อนที่
  • สามารถพกพาหนังสือได้จำนวนมาก (เป็นพันๆ เล่ม)
  • นักเขียนใหม่มีโอกาสแสดงผลงานได้ง่ายขึ้น

ข้อเสีย
  • ยังใช้งานไม่แพร่หลาย ทำให้มีหัวข้อให้อ่านน้อย
  • มีราคาสูง
  • ยังอ่านภาษาไทยไม่ได้

ผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ
  • ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทำให้มีการบริโภคสิ่งพิมพ์ลดลง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ
  • การศึกษา ทำให้นักเรียนอยากอ่านหนังสือมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อตำราเรียน อาจารย์สามารถทำสื่อการสอนได้รวดเร็วและแก้ไขง่ายยิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีราคาสูง จึงต้องการการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา
  • สิ่งแวดล้อม ใช้ต้นไม้ลดลง ทำให้สามารถช่วยลดโลกร้อนได้

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

E-Business and E-commerce

คาบ 6 : 14 ธ.ค. 53

          วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่อง E-Business และ E-Commerce ซึ่งไม่ใช่เฉพาะการขายของทาง Internet เพียงอย่างเดียว แต่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันด้วย ทำให้ IS มีบทบาทมากยิ่งขึ้น

          อาจารย์ยกตัวอย่างถึงเคสของ Dell, Ebay และ Amazon ที่ปรับ Business Model จากการขายสินค้าทางหน้าร้าน เป็นการขายสินค้าบน Internet แทน ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถมีสินค้าที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น ทำให้ไม่เสียโอกาสในการขายอย่างเดิม ซึ่งตัวอย่างทั้งสามดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ IS ที่เข้ามาช่วยให้ลดต้นทุนในการสต็อกสินค้าลง และยังทำให้มีสินค้าให้ลูกค้าเลือกมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ประโยชน์ของ E-Business และ E-Commerce
  • Organization ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร เช่น จากเดิมที่เคยขายได้แค่ในประเทศไทย ก็สามารถขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศได้
  • Customer ช่วยทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงและจำนวนมากขึ้น
  • Society ช่วยให้องค์กรสามารถขายสินค้าในราคาที่ถูกลงได้ ทำให้ประชาชนสามารถซื้อของได้ในราคาที่ถูกลง มีเงินเหลือสำหรับจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อจำกัดของ E-Business และ E-Commerce
  • Technological ด้านเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีที่ใช้แตกต่างกัน ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้บางครั้งการติดต่อซื้อขายไม่สามารถทำได้
  • nontechnological ด้านอื่นนอกเหนือจากเทคโนโลยี เช่น เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของผู้ซื้อ ที่ใช้บัตรเครดิต

IS Major E-Commerce Mechanisms
           พูดถึงการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์กับการทำธุรกิจ โดยมีตัวอย่างดังนี้
1. Social Commerce คือ การที่คนเข้าไปแนะนำสินค้าให้เพื่อน ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการโฆษณาทีวีแบบเดิม

2. Electronic Catalogs คือ แคตตาล็อกสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำแบบนี้ เนื่องจากยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังเคยชินกับการเลือกสินค้าจากรูปแบบนี้

3. Electronic Malls คือ ห้างเสมือนที่ทำขึ้นมาเพื่อให้การซื้อสินค้าบน Internet นั้นคล้ายกับการซื้อสินค้าในโลกความจริงมากที่สุด โดยบางที่ทำเป็น Virtual life เลย

4. Online Job Market คือ การสมัครงานทางออนไลน์ ซึ่งสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก

5. Travel Services คือ การให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวบน Internet เช่น การจองห้องพักผ่าน Website

6. E-Government คือ การที่ส่วนราชการใช้ Internet และ Website เข้ามาช่วยในกระบวนการติดต่อต่างๆ  เช่น ระบบการจ่ายภาษีของประชาชน หรือการประมูลงานของรัฐ

          

          หลังจากนั้น เพื่อนก็ออกมานำเสนอ IT Hype โดยเนื้อหาในวันนี้มี 3 เรื่องคือ

Cloud Computing
           เป็นระบบที่อยู่บนเครือข่าย Internet ที่ให้บริการด้านการทำงานต่างๆ โดยผู้ใช้ไม่ต้องมีเทคโนโลยี หรือโปรแกรมต่างๆ เอง สามารถใช้ผ่านระบบนี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการได้อีกด้วย

ระบบนี้แบ่งออกเป็น 5 อย่างคือ
1. On-demand self-seveice ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
2. Broad network access (Internet)
3. Resource pooling : location independent
4. Rapid elasticity ผู้ใช้สามารถปรับเพิ่มลดขนาดของการทำงานได้ตามความต้องการ

ข้อดี
  • cost savings ลดต้นทุนในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เนื่องจากสามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆ จากระบบนี้ได้
  • Scalability สามารถกำหนดขอยเขตได้ตามความต้องการ และยังปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
  • Access to top-end IT capabilities ทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรด้าน IT ที่ดีได้ โดยไม่ต้องมีเงินลงทุนจำนวนมาก
  • Focusing on core competencies ทำให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรที่มีไปลงในสิ่งที่เป็นความสามารถหลักขององค์กรได้ ไม่ต้องแบ่งมาลงทุนด้าน IT
  • Efficient asset utilization ทำให้สามารถใชทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่ต้องลงทุนกับ IT จัดการทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่ามากที่สุด)
ข้อควรระวัง
  • Privacy and security เพราะว่าเราจะฝากข้อมูลไว้ให้คนอื่นเก็บ ทำให้อาจมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กรที่อาจรั่วไหลได้
  • Non-standard platform ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน เพราะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของแต่ละองค์กร
  • Reliability ความมั่นคงขององค์กร เพราะถ้าระบบล่ม องค์กรจะทำอย่างไร จะทำงานต่อไปอย่างไร
  • Portability สามารถใช้ได้สะดวก เพียงแค่เชื่อมต่อเข้าสู่ Internet ก็สามารถทำงานได้แล้ว


Health Informatics
          คือการนำข้อมูลด้านสุขภาพมาเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศเพื่อให้สามารถจัดการได้ดีขึ้น

แบ่งเป็น 5 ด้านคือ
  • ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม เช่น ข้อมูลประชากร, การศึกษา สังคม การเมือง
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ คือ ข้อมูลด้านสุขภาพของแต่ละคน
  • ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข เช่น ข้อมูลจำนวนทรัพยากรด้านนี้ การเงิน ครุภัณฑ์ต่างๆ
  • ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข เช่น ข้อมูลการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ การป้องกันโรค
  • ข้อมูลด้านการจัดการ เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ
ประโยชน์
  • ทำให้การบริการดีขึ้น
  • ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
  • ช่วยในการวางแผนการทำงานต่างๆ


Web 2.0
          คือ Website ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะสำคัญ 7 ประการ คือ
  1. Network as platform สามารถใช้ช่องทางผ่าน Web Browser ได้
  2. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินการกับข้อมูลนั้นได้
  3. ทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น
  4. มี User interface ที่เหมือนกับ desktop mให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
  5. สามารถโต้ตอบกันได้
  6. มีความรวดเร็วและง่ายในการส่งข้อมูลมากขึ้น
  7. มีการเอา Function ใช้งานจากหลายเว็บรวมเข้าด้วยกัน
เปรียบเทียบ Web 1.0 กับ Web 2.0
           Web 1.0 จะเป็นเหมือนการสื่อสารทางเดียว คือเจ้าของเป็นคนเดียวเท่านั้นที่สามารถใส่ข้อมูลลงในเว็บนั้นได้ แต่ Web 2.0 ทั้งเจ้าของและผู้ใช้สามารถโต้ตอบกันได้

เทคโนโลยีที่ Web 2.0 ใช้
  • AJAX (Asynchronous JavaScript and XML) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คั่นกลางระหว่าง Browser กับผู้ใช้เพื่อให้ Web สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที
  • SaaS (Software as a service) เป็นการให้บริการ software ผ่านหน้า ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น คือ ไม่ต้องโหลดโปรแกรมมาลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้ได้บนเครือข่ายเลย
  • RSS (Really Simple Syndication) เป็นตัวช่วยในการบอกว่า Content ไหนมาใหม่

ตัวอย่าง Web 2.0 เช่น Facebook, Myspace, Youtube เป็นต้น

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Information Technology Economics

คาบ 5 : 7 ธ.ค. 53

          วันนี้อาจารย์มฑุปายาสมาสอนอีกครั้ง เนื้อหาในวันนี้แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ๆ คือ
1.Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox
2.Evaluating IT Investment
3.Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
4.Economic Aspects ot IT and Web-Based System
5.Managerial Issues

ส่วนที่ 1 Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox
        
          Productivity Paradox คือ การที่อัตราการพัฒนาของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการพัฒนาของสิ่งอื่นๆ ไม่รวดเร็วเท่า เช่น เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผลลัพธ์ของการใช้พัฒนานี้มีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าอัตราการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งเหตุผลของการที่สิ่งอื่นๆ พัฒนาไม่ทันเทคโนโลยีนั้นมีดังนี้
  • ผลิตผลที่เพิ่มขึ้นไม่แสดงในการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่เห็นว่าเกิดผลิตผลที่ไหนอย่างชัดเจน
  • ผลิตผลที่เกิดขึ้นถูกหักลบกับกิจกรรม IT อย่างอื่นที่ไม่สร้างผลิตผล เนื่องจากมีงบประมาณมาจากแหล่งเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถเห็นผลที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
  • ผลิตผลที่เกิดขึ้นมีต้นทุนสูงมาก ถึงมีผลิตผลเพิ่มขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่สามารถหักล้างกับต้นทุนที่เกิดขึ้นได้
  • ต้องใ้ช้เวลาในการรอให้เกิดผลิตผล ทำให้ระยะเวลาที่สั้นไม่สามารถประเมินผลิตผลออกมาได้อย่างชัดเจน
  • มีปัจจัยอื่นๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ผลิตผลที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่มากเท่าที่ควร
          ถึงแม้ Productivity Paradox จะมีข้อเสียจำนวนมาก แต่ทำไมถึงยังมีคนใช้ Productivity Paradox อยู่ เนื่องจาก
  • สามารถช่วยเพิ่มผลิตผลได้ 
  • เกิดผลทั้งทางตรง (ลดต้นทุนทันทีหลังจากเริ่มใช้งาน เช่น ค่าขนส่ง, ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น) และทางอ้อม (ไม่ได้มีผลโดยตรง เช่น มี Mk Share เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเอาไปเป็นจุดเด่นในการทำการตลาดได้)
ส่วนที่ 2 Evaluating IT Investment
         
          ในการลงทุนทางด้าน IT นั้นองค์กรมีข้อจำกัดหลายประการ ไำม่ว่าจะเป็น ข้อจำกัดด้านงบประมาณ, เวลา รวมไปถึงบุคคลากร ทำให้จะต้องมีการประเมินทางเลือกว่าจะเลือกพัฒนา IT อันไหนก่อนหลัง ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการประเมิน มีดังนี้
  • ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยการเพิ่มแรงกดดันด้านการเงิน
  • IT ไม่ใช่ทางออกของปัญหาทั้งหมด บางครั้งการแก้ปัญหาอาจจะไม่ต้องลงทุนด้าน IT ก็ได้
  • มีงบประมาณที่จำกัด
  • การลงทุนด้าน IT อาจช่วยให้หุ้นมีราคาสูงขึ้น
กระบวนการประเมิน IT 
  • หาเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
  • หามาตรวัดที่จะใช้วัด
  • ประเมิน, ทำให้เข้าใจง่าย และบันทึกเป็นเอกสารไว้
  • คำนวณทางเลือก ซึ่งอย่าลืมรวมการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย
  • สิ่งที่จะพัฒนาสนับสนุน Strategy ขององค์กรหรือไ่ม่
  • อย่า underestimate costs และ overestmate benefit
  • แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ


ความยากในการวัด แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ
     1.Productivity & Performance Gains 
  • ไม่รู้ว่าจะวัดอะไร ใช้ตัววัดไม่เหมาะสมทำให้ผลที่ออกมาไม่มีประโยชน์
  • มีผลช้า ทำให้วัดได้ยาก
  • วัดผลประโยชน์ที่ IT สร้างให้องค์กรได้ยาก
     2.Intangible Benefits
  • ยากที่จะวัดเป็นตัวเงิน เช่น ความพึงพอใจของผู้บริโภค 
  • ไม่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ ทำให้อาจลืมที่จะสนใจประโยชน์ส่วนนี้
Costing IT Investment แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
  • Fixed Cost ต้นทุน Hardware, Software
  • Transaction Cost ต้นทุนที่เสียระหว่างการดำเนินงาน เช่น Search cost, Information cost, Negotiation cost, dedcision cost เป็นต้น

Revenue Models Generate by IT & Web
  • Sales จาก E-Commerce
  • Transaction fees จาก commission จากการขาย
  • Subsciption fees จากการขาย service เพิ่มเติม
  • Advertising fees จากค่า Bannners
  • Affiliate fees จากค่า commission จากการขายโดยการที่คนกดผ่าน banners บนเว็บของเรา

Cost- Benefit Analysis
          จะลงทุนต่อเมื่อ Benefit มากกว่า Cost และต้องลำดับว่าอะไรมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน (ก่อนหลัง) ซึ่งต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
  • Identifying & estimating ต้นทุนและผลประโยชน์ทั้งหมด 
  • Expressing in common unit (ตัวเงิน)
          โดย Costs ประกอบด้วย Development cost (เช่น ค่าจ้างนักพัฒนาระบบ), Setup cost (เช่น ค่า hardware) และ Operation cost (เช่น ค่าจ้างคนดูแลระบบ)
          และ Benefits ประกอบไปด้วย Direct benefits (ผลที่เกิดจากการทำงานของระบบโดยตรง), Assessable indirect benefit (second order impact) และ Intangible benefits (ประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้ ต้องพยายามเปลี่ยนเป็นตัวเงินให้ได้)

Cost-Benefit Evaluation Techniques
  • Net profit มองกำไรก้อนสุดท้าย แต่ไม่ดูว่าเงินลงทุนเท่าไหร่ ไม่ดูช่วงเวลา
  • Paybackperiod ดูว่าคืนทุนเมื่อไหร่ แต่ไม่สนใจกำไรสุดท้าย
  • Return on investment (ROI) ดูผลลัพธ์เป็นสัดส่วนกับการลงทุน แต่ไม่มองมูลค่าของเงินตามเวลา
  • Net present value (NPV) มองมูลค่าเงินในปัจจุบัน แต่เสี่ยงตรงที่ไม่รู้จะเลือกอัตราคิดลดเท่าไหร่
  • Internal rate of return (IRR) มองหาจุดที่ NPV เป็น 0 ซึ่งจะทำให้เป็นการเลือกใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสมที่สุด

ส่วนที่ 3 Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
         
          มีหลักการที่ใช้ในการประเมินการเลือก IT จำนวนมาก โดยขอยกตัวอย่างบางหลักการ ดังนี้
  • Business case ทำเป็นเอกสารประเมินทางเลือกของ IT เน้นให้เห็นมุมมองหลายแง่มุม
  • Total cost (and benefit) of ownership คำนวณต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งต้นทุนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ acquisition cost, operation cost และ control cost
  • Benchmarks เทียบกับคนที่ดีที่สุด, คนที่อยู่ตรงกลาง และคนที่อยู่ท้ายสุดของอุตสาหกรรมฺ
  • Balance scorecard มอง 4 มุมมอง คือ customer, financial, internal business processes และ learning and growth ซึ่งแต่ละมุมมองจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย (KPIs) ที่ชัดเจน และสอดคล้องกับ mission, vision ขององค์กร

ส่วนที่ 4 Economic Aspects ot IT and Web-Based System
         
          การใช้ Web-based ในการดำเนินงานมีผลกระทบต่อการวิเคราะห์ cost-benefit กล่าวคือ จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานลงได้ แต่ก็ต้องมีการประเมินอย่างรอบคอบว่าการใช้ E-Commerce นั้นไม่ใช่เป็นเพราะต้องการมีหน้าร้านใน Internet เท่าันั้น แต่ก็ต้องมีระบบรองรับด้านหลังที่สนับสนุน

          โดยการใช้ Web-based นี้จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าลดลงเรื่อยๆ ต่างจากการขายแบบเดิมที่ ณ จุดหนึ่งหลังจากต้นทุนลดลงจนถึงขีดสุดแล้วก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

           ค่าใช้จ่ายด้าน IT นั้นมีวิธีการแบ่งผู้รับผิดชอบออกเป็น 2 แบบ คือ ส่วนกลาง(คิดเป็น Overhead) และ ผู้ใช้จริง โดยคิดตามปริมาณที่ใช้ (Chargeback) ซึ่งการให้ผู้ใช้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นจะทำให้สามารถจัดการทรัพยากรที่มีให้เหมาะสม และวางแนวทางในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรมได้อีกด้วย

ส่วนที่ 5 Managerial Issues
         
          มีทั้งหมด 7 ข้อดังนี้
1.Constant growth & change ต้องเตรียมพร้อมรองรับความเปลีี่่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี

2.Shift from tangible to intangible benefits เปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับด้านการเงินเพียงอย่างเดียว มาเป็นให้ความสำคัญด้านคุณภาพด้วย

3.Not a sure thing ต้องมีการวัดอย่างสม่ำเสมอว่าสิ่งที่ใช้อยู่นั้นยังทำงานได้เหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ เพราะอาจมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ทำให้ที่ใช้อยู่นั้นไม่เหมาะสมกับองค์กรแล้ว

4.Chargeback มองหาวิธีในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรม

5.Risk พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงโอกาสที่จะเกิด ซึ่งจะต้องลำดับความสำคัญและหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงนั้น

6.How to measure the value of IT investment? จะใช้วิธีไหนมาวัดให้เหมาะสมมากที่สุด

7.Who shoukd conduct a justification? ใครควรเป็นคนตัดสินใจว่าจะเลือก IT แบบไหน ซึ่งแต่เดิมจะเป็นฝ่ายการเงิน แต่ปัจจุบันจะเป็น Steering Committee และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Outsourcing, Offshoring, and IT as a Subsidiary

คาบ 4 : 30 พ.ย. 53

วันนี้อาจารย์มฑุปายาสมาเป็นผู้สอน เนื้อหาในวันนี้อาจารย์พูดถึงอยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือ
1.Outsourcing
2.Acquisition Process of IT Application

ส่วนที่ 1 Outsourcing 
1.เหตุผลที่ทำ outsourcing เนื่องจาก
  • ต้องการให้ความสำคัญกับงานหลักขององค์กร
  • ต้องการลดต้นทุน
  • เพื่อให้มีคุณภาพสูงขึ้น
  • ต้องการนำระบบมาใช้อย่างรวดเร็ว
  • ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว

2.ประเภทของข้อตกลง (Agreement) 
  • Transactional outsourcing agreements - outsource การทำงานที่มีลักษณะชัดเจนแล้วให้ผู้อื่นทำ
  •  Co-outsourcing alliances - ร่วมกันพัฒนากับคู่ค้า แต่มีข้อควรระวังคือ อาจโดนขโมยข้อมูลที่เป็นความลับได้
  • Strategic partnership - outsource ให้ผู้เดียวเป็นคนรับผิดชอบงานทั้งหมดด้านนี้ขององค์กร 

3.ประโยชน์ของการทำ outsource
แบ่งเป็น  6 ด้าน คือ
  • Financial เช่น ทำให้มีเงินไปใช้ในการลงทุนด้านอื่น มี cash flow
  • Technical เช่น ทำให้ได้เทคโนโลยีมาใช้อย่างรวดเร็ว
  • Management เช่น ทำให้สามารถให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถหลักขององค์กร
  • Human Resource เช่น ลดความถี่ในการสรรหาพนักงานด้าน IT เนื่องจากพนักงานด้านนี้มี Turnover rate สูง
  • Quality เช่น ทำให้ได้ Software ที่ดีมาใช้
  • Flexibility เช่น ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจได้ดีมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับงานด้านนี้มากนัก

4.ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ outsource
  • Shirking คือ ผู้ที่ทำให้จ่ายเงินเต็มจำนวน แต่ไม่ทำตามสัญญาที่ระบุไว้
  • Poaching คือ ผู้ที่ทำให้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร และนำเทคโนโลยีนี้ไปขายให้กับผู้อื่นด้วย
  • Opportunistic repricing คือ ทำสัญญาระยะยาวและผู้ที่รับจ้างทำงานไม่ทัน แต่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

5.วิธีจัดการกับความเสี่ยง
  • รู้ความต้องการของตนเอง และระบุให้ชัดเจนใน Agreement
  • แบ่งส่วนของงานที่ให้ทำ ทำทีละ phase
  • ให้แรงจูงใจ โดย based on activity
  • ทำสัญญาระยะสั้น เพื่อกระตุ้นให้มีความกระตือรือล้นในการทำงานเสมอ
  • ดูแลและควบคุมผู้ที่ถูก outsource ให้ทำงานของเราอีกที
  • เลือก outsource งานบางอย่างเท่านั้น ในส่วนที่ไม่ใช่ core หลัก หรือมีผลต่อความปลอดภัยขององค์กร

6.ต้นทุนที่เกิดขึ้น
  • ต้นทุนในการวิเคราะห์และประเมินทางเลือกว่าจะ outsource ให้กับใคร
  • ต้นทุนในการติดต่อสื่อสารกับคนที่เราจะจ้าง
  • ต้นทุนในขั้นตอนการ transfer ความรู้ต่างๆ
  • ต้นทุนในการส่งพนักงานของเราไปร่วมทำงานกับผู้ที่ทำให้
  • ต้นทุนในการโอนถ่ายงานกลับมาใช้ภายในองค์กร

          นอกจาก outsource แล้วยังมีวิธีการ Offshore outsourcing ที่สามารถนำมาใช้ได้ โดย offshore outsourcing คือ การ outsource ไปยังที่อื่น นอกเหนือจากที่ client อยู่ เช่น บริษัทอยู่ในประเทศไทย แต่ outsource ให้บริษัทในประเทศอินเดียทำงาน ซึ่งจะต้องระมัดระวังเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม

1.ปัจจัยในการพิจารณาเลือกทำ offshore outsourcing 
  • ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ กฎหมายของประเทศนั้นๆ
  • ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ
  • ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะไ้ด้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ กฎหมาย วัฒนธรรมต่างๆ ของประเทศนั้น

2.ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • คาดหวังว่าจะสามารถลดต้นทุนได้ แต่ในความเป็นจริงอาจทำไม่ได้
  • ความปลอดภัยของข้อมูล
  • อาจทำให้องค์กรไม่สนใจที่จะพัฒนางานส่วนนั้นที่ให้ผู้อื่นทำ
  • ความรู้ของธุรกิจอาจหายไป
  • ความต้องการในระบบเพิ่มขึ้นตลอดเวลา (Scope creep)
  • ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
  • ผู้ที่ดูแลงานของเราลาออก ทำให้งานหยุดชะงัก

3.ประเภทของงานที่ไม่ควรทำ offshore outsourcing
  • งานที่ยังไม่มีลักษณะการทำงานที่ชัดเจน
  • งานที่ทำให้เราเสียความสามารถในการควบคุมการทำงานหลักขององค์กร
  • งานที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญา
  • งานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญหลายด้านมาทำงานร่วมกัน offshore outsourcing อาจทำให้มีต้นทุนที่สูงกว่าการจ้างมาทำภายในองค์กร (in-house)

ส่วนที่ 2 Acquisition Process of IT Application 
1.ประเด็นที่ต้องคำนึงถึง
  • ขนาดและลักษณะของระบบที่ต้องการ
  • ต้องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามปัจจัยภายนอก
  • Application 1 ตัวจะมีผู้เข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก
  • วิธีการได้มาซึ่ง IT Application มีหลายวิธี
  • มี Approach ในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ต่างกัน

2.ขั้นตอนการได้มาของระบบ IT Application
1)Planning, identifying and justifying IT-based systems
  • Identifying สามารถมาจากทั้งผู้ใช้ระบบและคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ 
  • Justifying ต้องนำมาประมวลผลว่าจะพัฒนาระบบไหน เนื่องจากมีทรัพยากรทั้งคน เงิน และเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้ตามความต้องการของทุกฝ่ายได้
  • Planning ต้องมีความเข้าใจลักษณะของธุรกิจ สามารถระบุถึงความต้องการ ขอบเขตของงาน การทำ feasibility study กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาแต่ละขั้นตอน รวมไปถึงประเมินความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น

2)Creating an IT architecture
          วางโครงสร้างด้าน IT โดยมองที่ Information infrastructure, data architecture, network architecture ซึ่งการวางแผนที่ีดีจะช่วยใ้ห้สามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ได้ง่ายและทำงานได้ดี

3)Selecting an acquisition option
แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
          1.ฺีBuild in-house เป็นการพัฒนาระบบเองภายในองค์กร ซึ่งมีวิธีในการพัฒนา 3 แบบคือ Build from scratch (พัฒนาจากศูนย์), Build from components (พัฒนาจาก component ที่ซื้อมา) และ Integrating apllications (นำ in-house มาช่วยให้ทำงานได้ทั้งระบบ)
          2.Vendor build custom-made system 
          3.Buy existing application & install with/without modifications เป็นการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ภายในองค์กร โดยอาจจะมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการทำงานภายใน
          4.Lease เช่ามาใช้ เนื่องจากต้องการทดลองระบบ แล้วจึงตัดสินใจ ซึ่งจะดีกว่าการซื้อ เนื่องจากถ้าใช้แล้วไม่ดีก็สามารถเลิกใช้ได้ง่าย ไม่มีต้นทุนที่เสียไปแล้ว และยังมีการบริการจากผู้ให้เช่าเพิ่มเติมด้วย
          5.Enter partnership or alliance ร่วมกันทำระหว่างคู่ค้า ซึ่งมีข้อเสียคือ ต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งสองฝ่าย และอาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
          6.Use Combination ใช้หลายวิธีร่วมกัน

4)Testing, installing, integrating & deploying IT applications
          นำระบบมาทดลองใช้ ทดลองนำมาใช้ร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิม

5)Operations, maintenance & updating
          ดูว่าสามารถนำมาใช้ไ่ด้ง่าย? มี performance ดี? และขาด feature อะไรที่ยังต้องการหรือไม่ รวมทั้ง updating ระบบอยู่เรื่อยๆ

เพิ่มเติม 
Business Process Redesign
          การปรับกระบวนการทำงานเืพื่อลดกระบวนการทำงานให้ลดลง ทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น พัฒนากระบวนการดูแลลูกค้า รวมถึงเปลี่ยนไปเป็น e-business ซึ่งมีวิธีในการปรับเปลี่ยน 2 วิธีคือ
          1.BPR เป็นการเปลี่ี่ยนกระบวนการทำงานหนึ่งกระบวนการ
          2.BPM เป็นการรวมกระบวนการทำงานทั้งระบบและจัดการให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานตลอดเวลา

Managerial Issues
          ในการปรับปรุงการทำงานต่างๆ นั้น อาจมีประเด็นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ควรคำนึงถึง โดยแบ่งออกเ็ป็น 5 ด้านคือ
           1.Global & cultural ต้องเข้าใจความแตกต่างของแต่ละวัฒนธรรม ว่าต้องระมัดระวังเรื่องใด
          2.Ethical & legal issues ด้านจริยธรรม เช่น การนำระบบมาใช้อาจทำงานพนักงานบางคนไม่มีงานทำ จะทำอย่างไร
          3.User involvement ผู้ใช้ต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้ถูกต้อง
          4.Change management การนำระบบเข้าไปใช้อาจทำให้การทำงานมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
          5.Risk Management ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การพัฒนาระบบไม่สำเร็จ ต้องหาทางป้องกัน โดยเข้าใจความต้องการและระบุขอบเขตของงานที่ขัดเจนเพื่อให้สามารถวางแผนต่างๆ ได้