วันนี้อาจารย์มฑุปายาสมาสอนอีกครั้ง เนื้อหาในวันนี้แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ๆ คือ
1.Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox
2.Evaluating IT Investment
3.Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
4.Economic Aspects ot IT and Web-Based System
5.Managerial Issues
ส่วนที่ 1 Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox
Productivity Paradox คือ การที่อัตราการพัฒนาของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการพัฒนาของสิ่งอื่นๆ ไม่รวดเร็วเท่า เช่น เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผลลัพธ์ของการใช้พัฒนานี้มีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าอัตราการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งเหตุผลของการที่สิ่งอื่นๆ พัฒนาไม่ทันเทคโนโลยีนั้นมีดังนี้
- ผลิตผลที่เพิ่มขึ้นไม่แสดงในการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่เห็นว่าเกิดผลิตผลที่ไหนอย่างชัดเจน
- ผลิตผลที่เกิดขึ้นถูกหักลบกับกิจกรรม IT อย่างอื่นที่ไม่สร้างผลิตผล เนื่องจากมีงบประมาณมาจากแหล่งเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถเห็นผลที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
- ผลิตผลที่เกิดขึ้นมีต้นทุนสูงมาก ถึงมีผลิตผลเพิ่มขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่สามารถหักล้างกับต้นทุนที่เกิดขึ้นได้
- ต้องใ้ช้เวลาในการรอให้เกิดผลิตผล ทำให้ระยะเวลาที่สั้นไม่สามารถประเมินผลิตผลออกมาได้อย่างชัดเจน
- มีปัจจัยอื่นๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ผลิตผลที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่มากเท่าที่ควร
- สามารถช่วยเพิ่มผลิตผลได้
- เกิดผลทั้งทางตรง (ลดต้นทุนทันทีหลังจากเริ่มใช้งาน เช่น ค่าขนส่ง, ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น) และทางอ้อม (ไม่ได้มีผลโดยตรง เช่น มี Mk Share เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเอาไปเป็นจุดเด่นในการทำการตลาดได้)
ส่วนที่ 2 Evaluating IT Investment
ในการลงทุนทางด้าน IT นั้นองค์กรมีข้อจำกัดหลายประการ ไำม่ว่าจะเป็น ข้อจำกัดด้านงบประมาณ, เวลา รวมไปถึงบุคคลากร ทำให้จะต้องมีการประเมินทางเลือกว่าจะเลือกพัฒนา IT อันไหนก่อนหลัง ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการประเมิน มีดังนี้
- ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยการเพิ่มแรงกดดันด้านการเงิน
- IT ไม่ใช่ทางออกของปัญหาทั้งหมด บางครั้งการแก้ปัญหาอาจจะไม่ต้องลงทุนด้าน IT ก็ได้
- มีงบประมาณที่จำกัด
- การลงทุนด้าน IT อาจช่วยให้หุ้นมีราคาสูงขึ้น
- หาเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
- หามาตรวัดที่จะใช้วัด
- ประเมิน, ทำให้เข้าใจง่าย และบันทึกเป็นเอกสารไว้
- คำนวณทางเลือก ซึ่งอย่าลืมรวมการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย
- สิ่งที่จะพัฒนาสนับสนุน Strategy ขององค์กรหรือไ่ม่
- อย่า underestimate costs และ overestmate benefit
- แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
ความยากในการวัด แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ
1.Productivity & Performance Gains
- ไม่รู้ว่าจะวัดอะไร ใช้ตัววัดไม่เหมาะสมทำให้ผลที่ออกมาไม่มีประโยชน์
- มีผลช้า ทำให้วัดได้ยาก
- วัดผลประโยชน์ที่ IT สร้างให้องค์กรได้ยาก
- ยากที่จะวัดเป็นตัวเงิน เช่น ความพึงพอใจของผู้บริโภค
- ไม่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ ทำให้อาจลืมที่จะสนใจประโยชน์ส่วนนี้
- Fixed Cost ต้นทุน Hardware, Software
- Transaction Cost ต้นทุนที่เสียระหว่างการดำเนินงาน เช่น Search cost, Information cost, Negotiation cost, dedcision cost เป็นต้น
Revenue Models Generate by IT & Web
- Sales จาก E-Commerce
- Transaction fees จาก commission จากการขาย
- Subsciption fees จากการขาย service เพิ่มเติม
- Advertising fees จากค่า Bannners
- Affiliate fees จากค่า commission จากการขายโดยการที่คนกดผ่าน banners บนเว็บของเรา
Cost- Benefit Analysis
จะลงทุนต่อเมื่อ Benefit มากกว่า Cost และต้องลำดับว่าอะไรมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน (ก่อนหลัง) ซึ่งต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
- Identifying & estimating ต้นทุนและผลประโยชน์ทั้งหมด
- Expressing in common unit (ตัวเงิน)
และ Benefits ประกอบไปด้วย Direct benefits (ผลที่เกิดจากการทำงานของระบบโดยตรง), Assessable indirect benefit (second order impact) และ Intangible benefits (ประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้ ต้องพยายามเปลี่ยนเป็นตัวเงินให้ได้)
Cost-Benefit Evaluation Techniques
- Net profit มองกำไรก้อนสุดท้าย แต่ไม่ดูว่าเงินลงทุนเท่าไหร่ ไม่ดูช่วงเวลา
- Paybackperiod ดูว่าคืนทุนเมื่อไหร่ แต่ไม่สนใจกำไรสุดท้าย
- Return on investment (ROI) ดูผลลัพธ์เป็นสัดส่วนกับการลงทุน แต่ไม่มองมูลค่าของเงินตามเวลา
- Net present value (NPV) มองมูลค่าเงินในปัจจุบัน แต่เสี่ยงตรงที่ไม่รู้จะเลือกอัตราคิดลดเท่าไหร่
- Internal rate of return (IRR) มองหาจุดที่ NPV เป็น 0 ซึ่งจะทำให้เป็นการเลือกใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสมที่สุด
ส่วนที่ 3 Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
มีหลักการที่ใช้ในการประเมินการเลือก IT จำนวนมาก โดยขอยกตัวอย่างบางหลักการ ดังนี้
- Business case ทำเป็นเอกสารประเมินทางเลือกของ IT เน้นให้เห็นมุมมองหลายแง่มุม
- Total cost (and benefit) of ownership คำนวณต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งต้นทุนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ acquisition cost, operation cost และ control cost
- Benchmarks เทียบกับคนที่ดีที่สุด, คนที่อยู่ตรงกลาง และคนที่อยู่ท้ายสุดของอุตสาหกรรมฺ
- Balance scorecard มอง 4 มุมมอง คือ customer, financial, internal business processes และ learning and growth ซึ่งแต่ละมุมมองจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย (KPIs) ที่ชัดเจน และสอดคล้องกับ mission, vision ขององค์กร
ส่วนที่ 4 Economic Aspects ot IT and Web-Based System
การใช้ Web-based ในการดำเนินงานมีผลกระทบต่อการวิเคราะห์ cost-benefit กล่าวคือ จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานลงได้ แต่ก็ต้องมีการประเมินอย่างรอบคอบว่าการใช้ E-Commerce นั้นไม่ใช่เป็นเพราะต้องการมีหน้าร้านใน Internet เท่าันั้น แต่ก็ต้องมีระบบรองรับด้านหลังที่สนับสนุน
โดยการใช้ Web-based นี้จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าลดลงเรื่อยๆ ต่างจากการขายแบบเดิมที่ ณ จุดหนึ่งหลังจากต้นทุนลดลงจนถึงขีดสุดแล้วก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ค่าใช้จ่ายด้าน IT นั้นมีวิธีการแบ่งผู้รับผิดชอบออกเป็น 2 แบบ คือ ส่วนกลาง(คิดเป็น Overhead) และ ผู้ใช้จริง โดยคิดตามปริมาณที่ใช้ (Chargeback) ซึ่งการให้ผู้ใช้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นจะทำให้สามารถจัดการทรัพยากรที่มีให้เหมาะสม และวางแนวทางในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรมได้อีกด้วย
ส่วนที่ 5 Managerial Issues
มีทั้งหมด 7 ข้อดังนี้
1.Constant growth & change ต้องเตรียมพร้อมรองรับความเปลีี่่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี
2.Shift from tangible to intangible benefits เปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับด้านการเงินเพียงอย่างเดียว มาเป็นให้ความสำคัญด้านคุณภาพด้วย
3.Not a sure thing ต้องมีการวัดอย่างสม่ำเสมอว่าสิ่งที่ใช้อยู่นั้นยังทำงานได้เหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ เพราะอาจมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ทำให้ที่ใช้อยู่นั้นไม่เหมาะสมกับองค์กรแล้ว
4.Chargeback มองหาวิธีในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรม
5.Risk พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงโอกาสที่จะเกิด ซึ่งจะต้องลำดับความสำคัญและหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงนั้น
6.How to measure the value of IT investment? จะใช้วิธีไหนมาวัดให้เหมาะสมมากที่สุด
7.Who shoukd conduct a justification? ใครควรเป็นคนตัดสินใจว่าจะเลือก IT แบบไหน ซึ่งแต่เดิมจะเป็นฝ่ายการเงิน แต่ปัจจุบันจะเป็น Steering Committee และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น