นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Strategic Information System Planning

คาบ 11 : 3 ก.พ. 54

           วันนี้อาจารย์ศรีสมรักมาสอนอีกเป็นครั้งสุดท้าย อาจารย์เริ่มต้นด้วยเนื้อหาที่ค้างอยู่จากคราวที่แล้ว (จากหัวข้อ Business Intelligence) และอาจารย์ก็พูดต่อในเรื่องสุดท้ายคือ Strategic Information System Planning โดยเนื้อหาต่างๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

           เริ่มแรก อาจาร์พูดถึง Web Mining ที่ค้างจากคราวก่อน ว่าประกอบขึ้นมาจาก 2 ส่วนคือ Technology และ ผู้รับ โดยใช้ Internet เป็นสื่อกลาง ซึ่งการทำ Web Mining นี้จะช่วยทำให้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคว่าเข้าเว็บไหนบ้าง กี่นาที และเข้าไปดูส่วนไหนบ้าง โดย Web Mining แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
          1.Web Content Mining เป็นการดูถึง Content ต่างๆ บนเว็บ ว่าผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นเข้ามาดูอะไรบ้าง
          2.Web Structure Mining เป็นการดูว่าการออกแบบเว็บนั้นน่าสนใจหรือไม่ น่าสนใจมากพอที่จะทำให้คนคนทั่วไปจดจำ URL ของเว็บได้หรือไม่ หรือว่าเข้าสู่เว็บไซต์ผ่านทาง link ต่างๆ
          3.Web Usage Mining เป็นการดูพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ของลูกค้าว่า ดูส่วนไหนบ้าง จากตรงนี้เลือกดูอะไรต่อ

           จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มเรื่องสุดท้าย Strategic Information System Planning โดยอาจารย์อธิบายว่า การวางแผนระบบ IT นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรขนาดใหญ่ การวางแผนนี้จะช่วยให้การใช้ระบบบ IT มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา ซึ่งหัวใจสำคัญของการวางแผนระบบก็คือ กระบวนการวางแผนนระบบ ที่มีความสลับซ้บซ้อน และมีหลากหลายแนวความคิด โดยการวางแผนระบบนั้นจะต้องคำนึงถึงทั้ง infrastructure และ application โดยหลักการและเทนนิคการวางแผนระบบ IT นั้นมีหลากหลายวิธี แต่อาจารย์จะพูดถึงแค่ 3 วิธี คือ

1.Four-stage Planning Model
2.The Business Systems Planning (BSP)
3.Critical Success Factors (CSF) 

โดยมีรายละเอียดในปลีกย่อยดังนี้
1.Four-stage Planning Model 
          เป็น model ที่มีความละเอียดมากที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย และภายในส่วยย่อยยังมีหัวข้อย่อยอีก ซึ่ง 4 ส่วนดังกล่าวคือ
          1.Strategic Planning เป็นการมองภาพรวมขององค์กรว่าเป็นอย่างไร เป็นเครื่องมือลักหรือเครื่องมือเสริม และสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์กรมากน้อยแค่ไหน แบ่งเป็น 4 ข้อย่อยคือ IS Mission(มองสารสนเทศของทั้งภาพรวมองค์กร), access envioronment(ประเมินสภาพแวดล้อม), acess organizational objectives strategies(ประเมินวัตถุประสงค์ขององค์กร) และ set IT policies objectives strategies(ตอบคำถามว่าองค์กรมองความสำคัญขององค์กรอย่างไร)

           2.Organizational Information Requirements Analysis แบ่งออกเป็น 2 ข้อย่ิอย คือ acess oranizations information requirement(ประเมินความต้องการด้านข้อมูลขององค์กร) และ assemble master development plan(มองภาพรวมของจำนวนระบบที่ต้องการ)

          3.Resource Allocation Planning เป็นการประเมินและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม ว่าต้องมีการเตรียมการอะไรบ้าง

          4.Project Planning เป็นการประเมินความคุ้มค่าของระบบ ซึ่งถ้าไม่มีความคุ้มค่า ก็จะทำให้ต้องกลับไปทบทวนและปรับเปลี่ยนตั้งแต่ข้อ 2 ไล่ลงมา แล้วจึงสามารดำเนินการต่อได้



2.The Business Systems Planning (BSP)
         เป็นแนวทางการวางแผนที่ IBM เป็นผู้คิดค้นและผลิตขึ้นมา โดยหลักการที่สำคัญคือ การวางแผนต่างๆ นั้น จะต้องมองเป็น 2 ขั้นตอน คืิอ มองกระบวนการทำงาน(Business Process) ก่อน แล้วจึงมองว่าในกระบวนการนั้นๆ ต้องการข้อมูล(Data Classes) อะไรบ้าง ซึ่งกระบวนการวางแผนพัฒนาระบบ IT ลักษณะนี้นั้นจะช่วยให้ระบบ IT ไม่ผูกติดกับแผนกใดแผนกหนึ่ง แต่ผูกติดกับลักษณะกระบวนการทำงานมากวก่า ทำให้การปรับเปลี่ยนโครงสร้า่งองค์กรนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ระบบ IT ในการทำงาน นอกจากนี้แนวคิดนี้ยังเป็นแนวคิดที่เน้นทั้งการทำงานแบบ Topdown และ Bottomup

ข้อดี
  • เห็นภาพของระบบทั้งหมดอย่างชัดเจน และเป็นขั้นเป็นตอน

ข้อเสีย
  • ใช้เวลาในการทำแผนนาน
  • มีข้อมูลจำนวนมากที่ต้องได้รับการวิเคราะห์
  • ไม่ได้มองในมุมมองของการพัฒนาในอนาคต มองเพียงแต่สภาพในปัจจุบันเท่านั้น

3.Critical Success Factors (CSF)
          เป็นระบบที่มองภาพจากมุมมองของผู้บริหารที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันหลักขององค์กร หรือ Critical Success Factors โดยมองว่าการที่จะดำเนินงานไปในลักษณะนี้นั้นต้องการระบบ IT ลักษณะใดที่จะเข้ามาช่วยให้การทำงา่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการวางแผนลักษณะนี้จะใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารทั้งหมดขององค์กร เพื่อให้มีมุมมองความคิดของหลายคนที่อยู่ในระดับบริหารที่มีความสามารรถในการมองอนาคตข้างหน้าของบริษัท โดยความคิดเห็นที่ได้จากผู้บริหารนั้นควรจะเป็นความคิดในฐานะที่ผู้บรหารอยู่ในตำแหน่งนั้นๆ ไม่ใช่มาจากความรู้สึกนิึกคิดส่วนตัวของผู้บริหาร ซึ่งหลังจากรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมดแล้วก็จะมีการนำมาประมมวลเป็นระบบที่จะต้องมี โดยต้องมีการลำดับความสำคัญด้วย ทั้งยังช่วยกำหนดว่าฐานนข้อมูลขององค์กรนั้นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ข้อดี
  • ใช้ข้อมูลในการวางแผนน้อยกว่า BSP
  • มีการมองถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

ข้อเสีย
  • ผู้วางแผนจะต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง
  • ประเด็นที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นประเด็นที่ยากต่อการวิเคราะห์
  • การคาดเดาการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทำได้ยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น