นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

นส.เมษศจี ศิริรุ่งเรือง 5202115191

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Web 2.0

คาบ 14 : 15 ก.พ. 54

          วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องของ Web 2.0 ว่าเป็นการโยงเครือข่ายทั่วโลก เริ่มต้นในปี 2004 โดยเกิดมาจากผลงานวิชาการ อธิบายถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของ internet ที่ไม่ใช่เพียงอ่านอย่างเดียว แต่คนเข้าไปแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ กัน เกิด transaction ขึ้น

เปรียบเทียบ Web 2.0 กับ Traditional Web
  • เกิดการร่วมมือจากคนจำนวนมากทั่วโลก เช่น Wikipedia ที่ให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปร่วมมือกันสร้างข้อมูลขึ้นมา
  • มีพัฒนากระบวนการทำธุรกิจและการทำการตลาดบน Internet
  • สามารถเชื่อมโยงผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ลักษณะของ Web 2.0
  • สามารถนำข้อมูลไปใช้ในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจและโปรโมทต่างๆ
  • มีข้อมูลที่ทันสมัย
  • มี interface ที่ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย และมีการโตต้อบซึ่งกันและกัน
  • ต้องการทักษะในการเขียนโปรแกรมน้อยลง
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
  1. Communication เช่น chat rooms, E-mail, Web posting เป็นต้น
  2. Information เช่น Search Engines, Expert Advice, Diretories and yellow pages เป็นต้น
  3. EC Element เช่น Advertisement, Electronic Catalogs and shopping carts เป็นต้น
ประเด็นที่สำคัญของ Social Network Services
  • ประเด็นเรื่องความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว
  • มีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมและเป็นคำแสลง
  • เกิดการแข่งขันกันระหว่างผู้ใช้
  • มีการทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
  • มีการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม โดยไม่มีการกลั่นกรองอย่างรอบคอบ
Interface ของ Enterprise Socail Network
  • ใช้ Social network ที่มีอยู่เดิม
  • สร้าง social network ของตเนอง ภายในองค์กร ให้พนักงานภายในองค์กรใช้ติดต่อและแบ่งปันความรู้กัน
  • ใช้ควบคุมการทำกิจกรรมขององค์กร
  • สร้างการบริการต่างๆให้แก่ลูกค้า
  • ใช้ในการทำการตลาด
ประโยชน์ที่ Retailers จะได้จาก Online Communities
  • สร้าง Viral Marketing
  • เพิ่ม Traffic ของเว็บไซต์
  • เพิ่มยอดขาย เพิ่มกำไรให้กับบริษัท
  • เป็นแหล่งของการรับ Feedback จากลูกค้า
Robotics
  • ใช้ในการกีฬา, การทหาร, วงการแพทย์, ธุรกิจ, ความบันเทิงต่างๆ รวมไปถึงด้านสุขภาพ
  • Nanabots จะมีความฉลาดมากขึ้น และสามารถมีการตัดสินใจที่ดีได้ในการใช้งานด้านต่างๆ
  • เข้ามาใช้แทนแรงงานคน
 Quantum Leaps Driven by IT
  • ใช้ในการพัฒนาความสามารถขององค์กร เช่น CRM, SCM, ERP เป็นต้น
  • ผู้ใช้เข้ามาเป็นคนขับเคลื่อน Technologies มากขึ้น เช่น socail network
ปัจจุบันใช้ Web 2.0 เข้ามาช่วยในด้านต่างๆ เช่น
  • Telemedicine & Telehealth ช่วยให้การรักษาทพได้ดีมากขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนได้ด้วย รวมทั้งมีประโยชน์ในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ
  •  Mobile Technology in Medicine ช่วยให้สามารถส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัวของคนไข้รายหนึ่งๆ
  • Urban Planning with Wireless Sensor Networks ช่วยในการวางแผนผังเมือง รวมไปถึงการวางโครงข่าย Internet
  • Offshore Outsourcing ทำให้การ outsource ไปยังประเทศอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น Call Center
Information Quality ข้อมูลมีจำนวนมาก แต่อาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นความจริง
Spam เป็นสิ่งที่สร้างความรำคาญ และความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูล
Dehumanization & other psychological impacts
Impcat & Health Safety การใช้ Intermet มากเกินไป ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายได้ เช่น คอเคล็ด ลักษณะท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง จึงควรต้องดูแลร่างกายให้เหมาะสม และใช้ให้เหมาะสม

  

IT HYPE

1.Behavioral Economics
          คือการศึกษาถึงพฤติกรรมการตัดสินใจของมนุษย์ เพื่อเข้าใจถึงแรงจูงใจและความต้องการของลูกค้า

ปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรกมที่ไม่มีเหตุผลเมื่อต้องตัดสินใจด้าน IT
  • Novelty Preference เป็นความต้องการที่จะแบ่งปันสิ่งใหม่ๆ ให้กับผู้อื่น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการอธิบายแพร่กระจายของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องการแรงผลักจากภายนอกให้มีการสื่อสารเกิดขึ้น
  • Social Contagion เป็นแบบของพฤติกรรมมุนษย์ที่เลียนแบบผู้อื่น แห่ตามกันไป ซึ่งมีบทบาทในแง่ของการแพร่กระจายของ IT คือ เมื่อมีคนหนึ่งสนใจแล้ว ก็จะมีคนสนใจตามมากขึ้น
  • Decision  Heuristics การเลือกการตัดสินใจของมนุษย์ พบว่ามนุษย์เลือกเพราะความพอใจ ไม่ใช่เพราะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

2.Corporate Blog
          เป็น blog ที่องค์กรสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีหน้าตาที่ง่ายในการโพสต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • Internal Blogs เป็นการใช้สื่อสารภายในองค์กร รวมไปถึงการบันทึกการทำงานภายในองค์กร
  • External Blogs เป็นบล็อกที่องค์กรเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาอ่านได้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการประชาสัมพันธ์สินค้าแก่ลูกค้า รวมไปถึงการรับความคิดเห็นจากลูกค้าด้วย

กลุยทธ์ของ Corporate Blogging
  • Build Thought Leadership
  • Corporate Culture
  • Connecting with Leaders เป็นการสื่อสารกันระหว่างผู้บริหาร หรือการสื่อสารไปสู่พนักงานใต้บังคับบัญชา
  • Branding เป็นการสื่อสารโดยการสร้างภาพลักษณ์ของ brand ไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
ตัวชี้วัด
  • จำนวนสมาชิก
  • จำนวนความคิดเห็น
  • link ของ blog
  • จำนวนครั้งในการกด Share

3.Quantum Computer
          เป็น super computer ที่ใช้คุณสมบัติเชิงกลศาสตร์ ในการทำให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้เร็วมากขึ้นคอมพิวเตอร์ปกติ

ประโยชน์
  • ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • สามารถโจมตีการเข้ารหัสของกุญแจสาธารณะได้ แต่ก็สามารถทำให้ป้องกันการเจาะเข้าถึงข้อมูลได้ดีเช่นเดียวกับความสามารถในการเจาะข้อมูลของตัวเอง

4.Micro Blogging
          คือการส่งข้อความระหว่างกันในระบบ RSS feed ซึ่งจำกัดในการส่งข้อมูลไม่เกิน 140 ตัวอักษร ตัวอย่างเช่น Twitter

ตัวอย่าง Micro Blogging
  • PLURK เป็น micro blogging ที่เป็นภาษาไทย ทำให้สะดวกสำหรับผู้ใช้คนไทยอย่างมาก
  • Yammer สามารถสร้างกลุ่มของเราเองได้ เช่น @hotmail ซึ่งทำให้สามารถใช้ติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กรเป็นหลัก
  • Twitter เป็น Micro blogging ที่ได้รับความนิยมมาก
          ซึ่ง Micro blogging นี้สามารถใช้เป็นช่องทางสำหรับธุรกิจได้ เช่น การ update ข่าวสาร, การให้คำแนะนำกับลูกค้า, การตอบรับลูกค้าอย่างรวดเร็ว, ใช้ในการสื่อสารภายในองค์กร รวมไปถึงการให้ความรู้


5.Text Mining
          เป็นการค้นพบข้อมูลใหม่ๆ โดยการสกัดข้อมูลออกมาจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
  • Text Mining เป็นการค้นพบข้อมูลที่ไม่เคยมีอยู่ก่อน
  • Searching เป็นการค้นข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
ประโยชน์
  • จัดข้อมูลที่กระจัดกระจายให้มารวมกัน
  • เป็นการสกัดข้อมูลใหม่ๆ ออกมา จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

ความรู้ที่ได้จาก Text Minging
  • เป็นการสรุปใจความสำคัญของข้อมูล
  • เป็นการแบ่งประเภทของข้อมูล
  • เป็นการจัดข้อมูล ซึ่งให้ระบบเป็นตัวช่วยในการจับความเหมือนของข้อมูล
เอาไปใช้อะไรได้บ้าง เช่น
  • CRM
  • Intelligence ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลต่างๆ
Application
  • เพิ่มระดับความลึกในการวิเคราะห์
  • คัดแยกและกรอง E-mail
  • แยกและระบุกลุ่มของปัญหา
  • แอบเข้าไปเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ของคู่แข่ง

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การรรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและจรรยาบรรณเบื้องต้น

คาบ 13 : 9 ก.พ. 54

          อาจารย์เริ่มต้นด้วยการพูดคุยเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ วิธีการใช้ให้ถูกจรรยาบรรณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายขององค์กรในเรื่องของความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อพวกเราเมื่อเข้าไปทำงานในองค์กรแล้ว

          ความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ หมายถึง เหตุการณ์หรือการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย ทำลาย Hardware, Software ข้อมูล สารสนเทศ หรือความสามรรถในการประมวลผลระบบข้อมูล
          อาจารย์พูดถึงโอกาสในการสร้างความเสี่ยงกับระบบสารสนเทศในองค์กร อาจเกิดขึ้นได้หลายวิธี ตั้งแต่การเปิด Website ต่างๆ, การเอา Thumb drive ส่วนตัวมาใช้กับคอมพิวเตอร์ของบริษัท ซึ่งผู้ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงแก่องค์กรส่วนมากนั้นเป็นกลุ่ม generation Y ซึ่งมีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากกว่า

ประเภทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
  • แฮกเกอร์ (Hacker) เป็นกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญในการเจาะข้อมูล
  • แครกเกอร์ (Cracker) เป็นกลุ่มคนที่เจาะระบบเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ และนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและป้องกันระบบต่อไป
  • ผู้ก่อให้เกิดภัยมือใหม่ (Script Kiddies) คนรุ่นใหม่ที่พึ่งจะเริ่มเจาะระบบ หรือสร้างไวรัส
  • ผู้สอดแนม (Spies) คือคนที่ดักดูข้อมูลต่างๆ ระหว่างการทำงานของคนอื่น
  • เจ้าหน้าที่ขององค์กร (Employees) คือพนักงานขององค์กรที่อาจนำไวรัสมาสู่คอมพิวเตอร์โดยไม่ตั้งใจ โดยผ่านทางการเข้า Website หรือ Thumb drive ที่นำมาใช้
  • ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ (Cyberterrorist) คือคนที่สร้างกระแสเพื่อให้เกิดเรื่องราวขนาดใหญ่ โดยใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวแพร่กระจาย
ประเภทของความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
1.การโจมตีระบบเครือข่าย 
  • ขั้นพื้นฐาน (Basic Attacks) เป็นการรื้อค้นทั่วไปในคอมพิวเตอร์ของคนอื่น
  • ด้านคุณลักษณะ (Identity Attacks) ปลอมแปลงเป็นผู้อื่นในการส่งข้อมูลเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
  • การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) เป็นการโจมตีด้วยการเข้าไปที่ Server จำนวนมากเกินปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้ Server นั้นไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งบางครั้งการทำเช่นนี้อาจเพื่อลดความน่าเชื่อถือของคู่แข่ง สร้างความเยสียหายให้แก่คู่แข่ง
  • ด้วยมัลแวร์ (Malware) แบ่งเป็น มุ่งโจมตีการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ เช่น ไวรัส, เวิร์ม, โทรจันฮอร์ส และมุ่งโจมตีความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ (สปายแวร์) เช่น แอดแวร์, คีลอกเกอร์
2.การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่มีสิทธิ ซึ่งส่วนมากจะเป็นกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย

3.การขโมย
  • ขโมยฮาร์ดแวร์และการทำงานฮาร์ดแวร์ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการตัดสายเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ขโมยซอฟต์แวร์ เช่น การขโมยสื่อที่ใช้จัดเก็บซอฟต์แวร์ การลบโปรแกรมโดยตั้งใจ รวมไปถึงการทำสำเนาโปรแกรมอย่างผิดกฎหมาย
  • ขโมยสารสนเทศ ส่วนมากจะเป็นข้อมูลที่เป็นความลับส่วนบุคคล
4.ความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ
  • เสียง (Noise) พวกคลื่นเสียงรบกวนต่างๆ โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกทำให้คลื่นโดนแทรกแซง
  • แรงดันไฟฟ้าต่ำ
  • แรงดันไฟฟ้าสูง
การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
  • รักษาความปลอดภัยจากการโจมตีระบบเครือข่าย เช่น ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส, ติดตั้ง Firewall, ติดตั้งซอฟต์แวร์ตรวจจับการบุกรุก, ติดตั้ง Honeypot (ตั้งระบบไว้ล่อคนที่โจมตีระบบให้ไปตรงนั้น เหมือนเป็นตัวหลอกไว้)
  • ควบคุมการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การระบุตัวตน, พิสูจน์ตัวจริง (พวกรหัสผ่านให้, ข้อมูลที่ทราบจำเพาะบุคคล,บัตรผ่านที่มีลักษณะประจำตัว, ลักษณะทางกายภาพ)
  •  ควบคุมการขโมย เช่น ทางกายภาพ (ปิดประตูหน้าต่าง), ใช้ระบบติดตามอุปกรณ์ RTLS :Real Time Location System, ใช้ลักษณะทางกายภาพในการเปิดปิดคอมพิวเตอร์ 
  • การเข้ารหัส คือกระบวนการแปลงข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปไม่สามารถอ่านได้ ผู้ที่เกี่ยวข้อเท่านั้นที่จะสามารถอ่านข้อมูลได้ ซึ่งการเข้ารหัสมี 2 แบบคือ
    • แบบสมมาตร - คนที่ส่งข้อมูลและรับข้อมูลใช้คีย์ชุดเดียวกันในการแปลงและถอดรหัสข้อความ
    • แบบไม่สมมาตร - ส่วนมากเป็นการใช้ระหว่างบริษัทกับลูกค้า โดยบริษัทจะมีคีย์สาธารณะไว้สำหรับลูกค้า เมื่อข้อความส่งมา บริษัทจะมีคีย์ส่วนตัวอีกอันในการถอดข้อความออกมา เช่น พวกบัตรเครดิต, การซื้อสินค้าออนไลน์
  • การรักษาความปลอดภัยอื่นๆ เช่น SSL : Secure sockets layer (เป็นการสร้างเครือข่ายชั่วคราวโดยใช้เป็น https แทน http), S-HTTP, VPN
  • ควบคุมการล้มเหลวของระบบสารสนเทศ เช่น Surge protector, UPS, Disaster Recovery, Business Continuity Planning
  • การสำรองข้อมูล
  • การรักษาความปลอดภัยของ Wireless LAN


จรรยาบรรณ
          คือ หลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย
  • การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การขโมยซอฟต์แวร์ (การละเมิดลิขสิทธิ์)
  • ความถูกต้องของสารสนเทศ (การตกแต่งภาพ)
  • สิทธิ์ต่อทรัพย์สินทางปัญญา
  • หลักปฏิบัติ (code of Conduct) เช่น ไม่เข้าไปยุงเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลของคนอื่น, ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมของโปรแกรมที่ออกแบบ เป็นต้น
  • ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ เช่น ให้เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น, ไม่พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน บนเช็คล่วงหน้า เป็นต้น


IT HYPE
1.Data Center
          หรือศูนย์ข้อมูล ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กร

ลักษณะ
  • ต้องมีเสถียรภาพ
  • สามารถใช้งานได้ตลอด (downtime, uptime)
  • ต้องมีความปลอดภัย ป้องกันไวรัสต่างๆ
  • ต้องสามารถกู้คืนข้อมูลได้ หากเกิดเหตุสุดวิสัย
  • ต้องมีการบำรุงรักษา
  • ต้องรองรับการขยายตัวในอนาคต
วิธีการใช้งาน
1.Cloud Computing  เป็นการฝากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น ไม่มีระบบล่ม ติดตั้งได้สะดวก
2.Security- Activity Monitoring เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่ข้อมูลขององค์กร สามารถตรวจจับการทำงานต่างๆ ได้
3.Reshaping Data Center มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบของ data center ให้สามารถระบายความร้อนได้ดีขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง
4.Virtualization for Availability ทำให้มีเครื่องเสมือน ทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ต้องเสียทรัพยากรในการจัดซื้อดูแลคอมพิวเตอร์อย่างเปล่าประโยชน์

การออกแบบ Data Center ต้องดูปัจจัย
1.สภาพทางกายภาพ ต้องถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป เครื่องจะทำงานผิดปกติได้
2.ควรมีพลังงานไฟฟ้าสำรอง เพื่อใช้ในกรณีที่ไฟฟ้าหลักใช้ไม่ได้
3.เดินสายเคเบิลของ Data Center ให้เป็นระบบ สวยงาม และมีความปลอดภัย โดยเอาไว้ใต้พื้น
4.อุปกรณ์ในการตรวจจับควัน เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
5.อุปกรณ์ sprinkler system
6.จำกัดบุคคลที่จะสามารถเข้าถึง Data Center ได้
7.ต้องใช้พลังงานมาก


2.Wireless Power
          คือการส่งพลังงานโดยไม่ใช้สายเคเบิล ซึ่งมีประเภทดังนี้
  • Electromagnetic Induction เป็นการส่งพลังงานผ่านสนามแม่เหล็ก มี 2 ประเภทคือ Induction และ Resonant Induction
  • Electromagnetic Radiation เป็นการส่งพลังงานระยะไกลผ่านคลื่นวิทยุหรือคลื่นแสง มี 2 ประเภทคือ microwave Method และ LASER Method
ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น eCoupled, WildCharge Pad, Wireless LCD TV เป็นต้น

ประโยชน์
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายเคเบิล
  • สะดวกในการใช้งาน
  • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Customer Relationship Management

คาบ 12 : 8 ก.พ. 54

วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องของ Customer Relationship Management (CRM) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

           การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้านั้น ทำให้การจัดการด้านนี้ทำได้ดีขึ้น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้านั้นต้องอาศัยข้อมูลจากหลายส่วนในองค์กร ทำให้การใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยจะทำให้มีข้อมูลที่ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้านั้นยังมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของ CRM
  • ช่วยให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้า
  • ช่วยในการวางแผนทางการตลาด เพื่อช่วยให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง
  • ช่วยให้สามารถเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดได้
ซอฟต์แวร์ที่ใช้บริหารลูกค้าสัมพันธ์
          SFA : Sale Force Automation ประกอบด้วย
  1. ระบบขายผ่านโทรศัพท์ตอบรับ  เพื่อให้มีการบริการแบบ Proactive
  2. ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อให้เกิดการขายแบบ Up-Saleing หรือ Cross-Saleing
  3. ระบบงานสนามด้านการขาย เช่น Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายทำให้สามารถติดต่อลูกค้าได้ทันที
          Call Center : ระบบบริการลูกค้า ประกอบด้วย IVR (ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ

          ระบบการตลาดอัตโนมัติ  ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการ การแข่งขันต่างๆ รวมไปถึงเครื่องมือที่ข่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

          Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล ซึ่งจะดึงข้อมูลมาจาก 2 แหล่งคือ ภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งข้อมูลภายในนั้นจะมาจากการทำงานประจำวันและข้อมูลจากภายนอก (เช่น Web Telephone Directory)

Classification of CRM Applications
  • Customer-facing เป็นการเก็บข้อมูลลูกค้าที่มีการติดต่อกับบรืษัท เช่น ข้อมูลลูกค้าจากโทรศัพท์
  • Customer-touching เป็นการเก็บข้อมูลจากช่องทางที่เป็น Self-service
  • Customer-centric intelligence เป็นการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลสำหรับการทำกลยุทธ์ด้าน CRM 
  • Online networking  มีการใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือหรือช่องทางหนึ่งในการพูดคุย ให้ข้อมูล ดูแลและให้บริการแก่ลูกค้า
ประเภทและระดับของ e-CRM
  • Foundation service อย่างน้อยมีส่วนที่ใช้โต้ตอบกับลูกค้า
  • Customer centered services ใช้ track บริการ, ข้อมูลลูกค้าต่างๆ
  • Value-added services บริการเสริมเพิ่มเติม เช่น การอบรม online
  • Loyalty programs เป็นให้จูงใจให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีกับสินค้า
เครื่องมือด้าน IT ที่เกี่ยวกับ CRM
เช่น Weblog, Chat rooms, Live chat, FAQs, Call centers เป็นต้น

        

           หลังจากที่อาจารย์พูดมานาน ก็ขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง คือ Knowledge MAnagement System (KMS)

          KM คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้เหล่านี้ได้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและนำมาประยุกต์ในการปฏิบัติงาน

ประโยชน์ของการบริหารความรู้
  • ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย ทำให้พนักงานที่เข้ามาใหม่ สามารถทำงานได้ง่ายมากขึ้น
  • ทำให้สามารถลดจำนวนการทำงานที่ผิดพลาดซ้ำเดิมได้
  • ทำให้ความรู้ไม่สูญหายไปกับตัวบุคคลที่หายไปจากองค์กร
จะสร้าง KM ได้อย่างไร??
  • สร้าง Knowledge Base ขององค์กร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
  • สร้าง Knowledge Network ให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างทั่วถึงและสามารถแบ่งปันความรู้กันได้
          เป้าหมายของ KM คือ ทำให้พนักงานคิดเป็นนำเป็น การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ลำดับขั้นตอนของความรู้
ข้อมูล >> สารสนเทศ >> ความรู้ >> ความชำนาญ >> ความสามารถ

โมเดลการสร้างองค์ความรู้ (Nonaka และ Takeuchi)
  1. Socialization เป็นการเรียนรู้โดยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องเรียน หรือจากประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเราเอง
  2. Externalization แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Tacit Knowledge (ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวบุคคล) และ Explicit Knowledge (ความรู้ที่สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจน) โดยการทำ KM เป็นการเปลี่ยน Tacit เป็น Explicit โดยการทำเป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านทางการสัมมนา การไปพูดให้คนอื่นฟัง
  3. Combination เป็นการเอาข้อมูลต่างๆ (รวมทั้งจากภายนอก) มารวบรวมไว้ เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจ, ข้อมูลการเดินเอกสาร ซึ่งขะทำให้เห็นความรู้ในมุมมองอื่นๆ นอกจาตัวผู้ทำงานเอง แล้วจึงนำความรู้ทั้งหมดที่มีไปเก็บในฐานข้อมูลความรู้
  4. Internalization เป็นการศึกษาความรู้ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อให้เรามีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
โมเดล กระบวนการของการจัดการความรู้ (Turban et al., 2005)
การระบุถึงความรู้ >> การจัดการความรู้ >> การพัฒนาความรู้ >> การแบ่งปัน/กระจายความรู้ >> การใช้ความรู้ >> การเก็บ/จดความรู้



IT Hype
1. 3G
          เป็นเทคโนโลยีเคลื่อนที่สมัยที่ 3 พัฒนามาจาก 2.5G ซึ่งเกิดการอิ่มตัวการสื่อสารด้วยเสียง จึงเปลี่ยนมาเป็นการสื่อสารไร้สาย (2.5G) แล้วก็มีข้อจำกัดในการพัฒนาเครือข่ายต่อ ก็เลยมีการพัฒนา 3G ขึ้นมา ซึ่งมีคนกำหนดมาตรฐาน 3G ไว้ ดังนี้
  • ต้องมี platform สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ
  • มีความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก
  • มีการบริการที่ไม่ขาดตอน
  • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลตามที่กำหนด
มาตรฐาน W-CDMA
  • รองรับ multi media ทุกรูปแบบ 
  • รองรับ voice และ non cvoice ได้อย่างดี
ประโยชน์
  • ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็ซขึ้น
  • สามารถแนบไฟล์เพลงและส่งออกได้อย่างรวดเร็ว
  • ทำให้การประชุมทางไกลได้อย่างดี
  • ใช้ร่วมกับต่างประเทศได้
ข้อเสีย
  • ภัยจากการติดต่อจากคนแปลกหน้า
  • ภัยจากสื่อต่างๆ ที่ไม่ดี
ตัวอย่าง 3G ในไทย
AIS, True, DTAC, TOT, CAT


2.IT Outsource
           แนวคิดนี้เริ่มจากว่า การพัฒนาคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ต้องใช้เวลา และยังแพง ก็เลยควร
แบ่งเป็น 6 ประเภท
  • Desktop service ดูแลคอมพิวเตอร์, เครื่อง server และเครือข่าย LAN, การจัดซื้อติดตั้ง
  • Network Management ให้องค์กรให้ใช้งานเครือข่าย เชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (ระหว่างองค์กร)
  • Data Center Service จัดหา ออกแบบ ติดตั้ง คอมพิวเตอร์ แทนผู้ว่าจ้าง
  • Continuity Service เป็นการดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีระบบล่ม
  • Web Hosting Service บริการให้เช่าพื้นที่ข้อมูลเว็บไซต์ ผ่านทาง Server รวมทั้งมีการนำฝากข้อมูลเข้าไปใน Server
  • Application Management Service ดูแลการทำงานในชีวิตประจำวัน
ข้อดี
  • ลดภาระในการจัดตั้งแผนกไอที
  • ลดภาระงานในการบริหารจัดการนโยบายทางด้านนี้
  • มีคนมาร่วมแบ่งปันความเสี่ยงทางด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
ข้อเสีย
  • ข้อมูลองค์กรรั่วไหลออกไป
  • การเปลี่ยนผู้รับจ้าง มี Switching Cost สูง

3.Internet TV
          เป็นการรับชมภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตบนหน้าจอทีวี ผ่านทาง Set-Top-Box ซึ่งกล่องนี้จะติดตั้งอยู่ที่บ้าน ต่อกับ router และ จอทีวี ซึ่งสามารถแบ่งการรับชมได้ 2 ลักษณะ
  • แบบสด เป็นการรับชมรายการพร้อมกับรายการปกติของช่อง
  • แบบตามสั่ง สามารถเลือกรับชมรายการได้ตามต้องการ ตามเวลาที่เราต้องการ
โดยวิธีการเก็บค่าบริการ 3 แบบ คือ
  • รับชมฟรี เสียแค่ค่าอินเทอร์เน็ต
  • เสียค่าบริการายเดือน ลักษณะเหมือน UBC เป็นโปรแกรมให้เลือก และเหมาจ่าย
  • เสียค่าบริการตามที่รับชม ลักษณะเหมือนการเช่าวิดิโอมารับชม เสียค่าบริการตามจำนวนเรื่องที่รับชม
ตัวอย่าง เช่น Apple TV, Google TV, 3BB HDTV


4.Wiki
          เป็นเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้คนร่วมเขียนบทความบนเว็บไซต์ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Wikipedia ซึ่งเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไขมากที่สุดในโลก

Wikipedia
          เน้นการทำงานและปรับเปลี่ยนที่ง่าย ทำให้ทุกคนสามารถเข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนได้ง่าย ข้อมูลจึงถูกอัพเดทตลอดเวลา

รูปแบบและประเภท ยกตัวอย่างเช่น
  • สารานุกรม
  • ตำรา
  • คำคม
  • ข่าว
  • พจนานุกรม
  • วิกิซอร์จ
ข้อดี
  • ทุกคนมีสิทธิในการแก้ไขเนื้อหาต่างๆ ได้
  • เนื้อหาเสรีที่ได้รับการคุ้มครอง
  • เนื้อหาได้รับการยอมรับจากนักวิชาการ
ข้อจำกัด
  • ความถูกต้องและสมบูรณ์ของเนื้อหาอาจยังไม่แน่ชัด
  • ไม่สามารถกรองเนื้อหาประเภทขยะออกได้ ข้อมูลที่ได้อาจเป็น Junk Data
องค์กรนำไปใช้อย่างไร??
  • ใช้เป็นแหล่งความรู้
  • เป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้
  • เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ภายในองค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Strategic Information System Planning

คาบ 11 : 3 ก.พ. 54

           วันนี้อาจารย์ศรีสมรักมาสอนอีกเป็นครั้งสุดท้าย อาจารย์เริ่มต้นด้วยเนื้อหาที่ค้างอยู่จากคราวที่แล้ว (จากหัวข้อ Business Intelligence) และอาจารย์ก็พูดต่อในเรื่องสุดท้ายคือ Strategic Information System Planning โดยเนื้อหาต่างๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

           เริ่มแรก อาจาร์พูดถึง Web Mining ที่ค้างจากคราวก่อน ว่าประกอบขึ้นมาจาก 2 ส่วนคือ Technology และ ผู้รับ โดยใช้ Internet เป็นสื่อกลาง ซึ่งการทำ Web Mining นี้จะช่วยทำให้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคว่าเข้าเว็บไหนบ้าง กี่นาที และเข้าไปดูส่วนไหนบ้าง โดย Web Mining แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
          1.Web Content Mining เป็นการดูถึง Content ต่างๆ บนเว็บ ว่าผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นเข้ามาดูอะไรบ้าง
          2.Web Structure Mining เป็นการดูว่าการออกแบบเว็บนั้นน่าสนใจหรือไม่ น่าสนใจมากพอที่จะทำให้คนคนทั่วไปจดจำ URL ของเว็บได้หรือไม่ หรือว่าเข้าสู่เว็บไซต์ผ่านทาง link ต่างๆ
          3.Web Usage Mining เป็นการดูพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ของลูกค้าว่า ดูส่วนไหนบ้าง จากตรงนี้เลือกดูอะไรต่อ

           จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มเรื่องสุดท้าย Strategic Information System Planning โดยอาจารย์อธิบายว่า การวางแผนระบบ IT นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรขนาดใหญ่ การวางแผนนี้จะช่วยให้การใช้ระบบบ IT มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกเวลา ซึ่งหัวใจสำคัญของการวางแผนระบบก็คือ กระบวนการวางแผนนระบบ ที่มีความสลับซ้บซ้อน และมีหลากหลายแนวความคิด โดยการวางแผนระบบนั้นจะต้องคำนึงถึงทั้ง infrastructure และ application โดยหลักการและเทนนิคการวางแผนระบบ IT นั้นมีหลากหลายวิธี แต่อาจารย์จะพูดถึงแค่ 3 วิธี คือ

1.Four-stage Planning Model
2.The Business Systems Planning (BSP)
3.Critical Success Factors (CSF) 

โดยมีรายละเอียดในปลีกย่อยดังนี้
1.Four-stage Planning Model 
          เป็น model ที่มีความละเอียดมากที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย และภายในส่วยย่อยยังมีหัวข้อย่อยอีก ซึ่ง 4 ส่วนดังกล่าวคือ
          1.Strategic Planning เป็นการมองภาพรวมขององค์กรว่าเป็นอย่างไร เป็นเครื่องมือลักหรือเครื่องมือเสริม และสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์กรมากน้อยแค่ไหน แบ่งเป็น 4 ข้อย่อยคือ IS Mission(มองสารสนเทศของทั้งภาพรวมองค์กร), access envioronment(ประเมินสภาพแวดล้อม), acess organizational objectives strategies(ประเมินวัตถุประสงค์ขององค์กร) และ set IT policies objectives strategies(ตอบคำถามว่าองค์กรมองความสำคัญขององค์กรอย่างไร)

           2.Organizational Information Requirements Analysis แบ่งออกเป็น 2 ข้อย่ิอย คือ acess oranizations information requirement(ประเมินความต้องการด้านข้อมูลขององค์กร) และ assemble master development plan(มองภาพรวมของจำนวนระบบที่ต้องการ)

          3.Resource Allocation Planning เป็นการประเมินและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม ว่าต้องมีการเตรียมการอะไรบ้าง

          4.Project Planning เป็นการประเมินความคุ้มค่าของระบบ ซึ่งถ้าไม่มีความคุ้มค่า ก็จะทำให้ต้องกลับไปทบทวนและปรับเปลี่ยนตั้งแต่ข้อ 2 ไล่ลงมา แล้วจึงสามารดำเนินการต่อได้



2.The Business Systems Planning (BSP)
         เป็นแนวทางการวางแผนที่ IBM เป็นผู้คิดค้นและผลิตขึ้นมา โดยหลักการที่สำคัญคือ การวางแผนต่างๆ นั้น จะต้องมองเป็น 2 ขั้นตอน คืิอ มองกระบวนการทำงาน(Business Process) ก่อน แล้วจึงมองว่าในกระบวนการนั้นๆ ต้องการข้อมูล(Data Classes) อะไรบ้าง ซึ่งกระบวนการวางแผนพัฒนาระบบ IT ลักษณะนี้นั้นจะช่วยให้ระบบ IT ไม่ผูกติดกับแผนกใดแผนกหนึ่ง แต่ผูกติดกับลักษณะกระบวนการทำงานมากวก่า ทำให้การปรับเปลี่ยนโครงสร้า่งองค์กรนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ระบบ IT ในการทำงาน นอกจากนี้แนวคิดนี้ยังเป็นแนวคิดที่เน้นทั้งการทำงานแบบ Topdown และ Bottomup

ข้อดี
  • เห็นภาพของระบบทั้งหมดอย่างชัดเจน และเป็นขั้นเป็นตอน

ข้อเสีย
  • ใช้เวลาในการทำแผนนาน
  • มีข้อมูลจำนวนมากที่ต้องได้รับการวิเคราะห์
  • ไม่ได้มองในมุมมองของการพัฒนาในอนาคต มองเพียงแต่สภาพในปัจจุบันเท่านั้น

3.Critical Success Factors (CSF)
          เป็นระบบที่มองภาพจากมุมมองของผู้บริหารที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันหลักขององค์กร หรือ Critical Success Factors โดยมองว่าการที่จะดำเนินงานไปในลักษณะนี้นั้นต้องการระบบ IT ลักษณะใดที่จะเข้ามาช่วยให้การทำงา่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการวางแผนลักษณะนี้จะใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารทั้งหมดขององค์กร เพื่อให้มีมุมมองความคิดของหลายคนที่อยู่ในระดับบริหารที่มีความสามารรถในการมองอนาคตข้างหน้าของบริษัท โดยความคิดเห็นที่ได้จากผู้บริหารนั้นควรจะเป็นความคิดในฐานะที่ผู้บรหารอยู่ในตำแหน่งนั้นๆ ไม่ใช่มาจากความรู้สึกนิึกคิดส่วนตัวของผู้บริหาร ซึ่งหลังจากรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมดแล้วก็จะมีการนำมาประมมวลเป็นระบบที่จะต้องมี โดยต้องมีการลำดับความสำคัญด้วย ทั้งยังช่วยกำหนดว่าฐานนข้อมูลขององค์กรนั้นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ข้อดี
  • ใช้ข้อมูลในการวางแผนน้อยกว่า BSP
  • มีการมองถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

ข้อเสีย
  • ผู้วางแผนจะต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง
  • ประเด็นที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นประเด็นที่ยากต่อการวิเคราะห์
  • การคาดเดาการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทำได้ยาก

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Enterprise Systems : SCM & ERP

คาบ10 : 1 ก.พ.54

           วันนี้เป็นคาบของอาจารย์ปีเตอร์ อาจารย์จะพูดถึง Enterprise Systems ซึ่งมี อยู่ 4 อย่างด้วยกัน วันนี้อาจารย์จะพูด 2 อย่างและคราวหน้าอีก 2 อย่าง อาจารย์พูดถึงระบบสารสนเทศภายในองค์กรที่เคยเรียนไปแล้ว (แบ่งเป็น 5 ขั้น) โดยแต่ละฝ่ายภายในองค์กรจะมีระบบของตนเองเนื่องจากมีความต้องการที่แตกต่างกัน แล้วมีความคุ้มค่าในการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอาจจะคิดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ยากเพราะไปช่วยให้การทำงานดีขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยสร้างให้ผลประกอบการดีขึ้นโดยตรง

          ระบบ Enterprise Systems จะเป็นระบบที่มีความเป็นมาตรฐาน ทำให้แต่ละองค์กรสามารถพูดคุยในภาษาเดียวกัน แตกต่างจากระบบต่างๆ ภายในองค์กรที่มีความแตกต่างซับซ้อนไปตามความต้องการของผู้ใช้

อุปสรรคของการนำ Enterprise Systems มาใช้ในองค์กร
         จะเห็นว่า ระบบ Enterprise Systems เป็นระบบที่ดี แต่ทำไมองค์กรถึงไม่นิยมนำมาใช้ มีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้
  • ระบบยังมีราคาแพง
  • บางองค์กรยังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะใช้ระบบ
  • ผู้ทำงานไม่อยากที่จะนำระบบใหม่มาแทนระบบเดิมของตนเองที่ทำมาเป็นเวลานานแล้ว
ประโยชน์ของ Enterprise Systems
  • ช่วยให้การทำงานระหว่างระบบต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น, พนักงานสามารถค้นหาข้อมูลเพื่อให้บริการลูกค้าได้ทันที, พนักงานจัดซื้อสามารถรับทราบถึงความต้องการของวัตถุดิบที่ต้องการในเวลาต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น
  • ช่วยให้การ outsource ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีระบบข้อมูลที่ดี ทำให้การติดต่อระหว่าง supplier ในประเทศต่างๆ รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ระบบที่จะเรียนมีทั้งหมด 4 ระบบ คือ
ERP : Enterprise Resource Planning
CRM : Customet Relationship Management เป็น software ที่ใช้ดูแลลูกค้า
KM : Knowledge Management Systems เป็นระบบที่ใช้รวบรวมความรู้ภายในองค์กร
SCM : Supply Chain Management Systems เป็นการดูระบบและ flow การทำงานภายในองค์กร ตั้งแต่ Supplier ไปจนถึงลูกค้า

และยังมีระบบอื่นๆ เพิ่มเติมอีกเช่น
DSS : Decision Support Systems เป็นระบบขข้อมูลที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของระดับจัดการ
Intelligence Systems เป็นระบบสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร
BI : Business Inteeligenve เป็น software หรือเทคนิคที่ใช้หาข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ใน Data Warehouse รวมไปจนถึง text mining

Supply Chain Management Systems
          เป็นกระบวนการตั้งแต่ที่บริษัทได้รับวัตถุดิบมาจาก Supplier ซึ่งอาจมี Supplier มากกว่า 1 รายและมีมากกว่า 1 ขั้น (Sup supplier) ไปจนถึงการที่บริษัทส่งสินค้าไปจนถึงลูกค้า โดยระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทช่วยให้ข้อมูลมีการ Flow ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดการภายใน Supply Chain มีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ระบบย่อยๆ ที่ใช้ภายใน Supply Chain มีดังนี้
          Warehouse Management System (WMS) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการคลังสินค้า ว่าจะมีการจัดการอย่างไรให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการว่าของชิ้นไหนต้องไปวางอยู่ที่ไหนของคลังสินค้า และมีระบบเก็บข้อมูลว่าของแต่ละชิ้นอยู่ส่วนไหนของคลังสินค้า

          Inventory Management System (IMS) เป็น Software ที่ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดเก็บข้อมูลของสินค้าที่มีทั้ง
หมด

          Fleet Management System เป็นระบบที่ใช้ช่วยติดตามว่าการขนส่งสินค้า ณ จุดใดๆ มีสินค้าอยู่จำนวนเท่าใด ทำให้สามารถติดตามได้ว่าส่งของ ณ ที่ไหนจำนวนเท่าไหร่ และยังช่วยให้สามรถติดตามได้ว่า ขากลับจะขนสินค้าอะไรกลับมา และส่งข้อมูลกลับมาถึงภายในสำนักงานเพื่อรายงานการขนส่งสินค้าที่รวดเร็ว

          Vehical Routing and Planning เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนเส้นทางในการขนส่งสินค้า เพื่อให้มีเส้นทางที่สั้นที่สุด และประหยัดมากที่สุด

           Vehical Based System เป็นระบบติดตามรถขนส่ง เช่นรถทัวร์ จะมี GPS ติดตามว่ารถถึงที่ไหนแล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบ

10 Trend for logistics Supply Chain Management
           1.Connectivity เช่น Bluetooth, GRPS, 8.02.11n (เป็นระบบคล้าย wifi แต่มีความแรงกว่า มีความเร็วประมาณ 600 Mbit/s เร็วกว่าเนทของบ้านเราประมาณ 10 เท่า)
           2.Advanced Wireless :Voice & GPS คือ wireless ที่เป็นแบบ advance มีการใช้เสียง ซึ่งจะพบอยู่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดเล็ก สามารถพกพาได้
           3.Speech Recognition เป็นการสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่ต้องมีอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า และมีจอคอมพิวเตอร์อีกต่อไป สามารถสั่งงานด้วยคำพูดของคนได้เลย
           4.Digital Imaging เป็นการประมวลผลภาพดิจิตอล ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้อย่างรวกเร็ว (เก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์พกพาต่างๆ)
           5.Portable Printing เป็นการพิมพ์ที่สามารถพกพาได้ ทำให้สามารถช่วยให้มีการออกใบคำสั่งซื้อ ใบเสร็จต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
           6.2D & other barcoding advances เป็นบาร์โค้ด 2 มิติ เช่น QR Code
           7.RFID เป็นชิพตัวเล็กๆ ฝังอยู่ในแถบสินค้า หรือทำเป็นบัตร ซึ่งสามารถส่งสัญญาณออกมาด้วยตัวเองได้ เช่น บัตรทางด่วน easy pass, tag ในคลังสินค้า
           8.Real Time Location System: RTLS ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง ทำให้ติดตามการเคลื่อนที่ของสินค้าภายในคลังสินค้าได้ว่ากำลังเคลื่อนที่ไปที่ไหนได้ ซึ่งขยายผลไปสู่เรื่องการติดตามสินทรัพย์ได้
           9.Remote Management การจัดการทางไกล เป็นระบบที่คอยควบคุมจากระยะไกลได้ โดยใช้ wireless LAN เข้ามาช่วย
           10.Security เป็นเรื่องความปลอดภัยของระบบไร้สาย เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กร

            Supply Chain Management สำคัญตรงที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูลแก่กัน เพื่อให้การจัดการสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างองค์กร ซึ่งต้องอาศัยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ระบบ Supply Chain ที่ดี ช่วยให้
  • สามารถประมาณการความต้องการของลูกค้าได้
  • สามารถวางแผนการผลิตได้
  • ทำให้การเก็บสินค้าคงคลังลดลง
  • การขนส่งก็มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ลดความเสี่ยง ความไม่แน่นอน
  • เพิ่มขีดความสามารถของบริษัท ซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น
Enterprise System
           เป็นระบบที่ทำให้องค์กรมีฐานข้อมูลร่วมกัน สามารถแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรได้

Integrate Business Functionality
  • สามารถรวบรมข้อมูลต่างๆ มารวมกันวิเคราะห์ได้
  • ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ERP : Enterprise Resource Planning Systems
          ปกติบริษัทจะซื้อเป็นส่วนๆ ของแต่ละฝ่าย ไม่ซื้อทั้งหมด เพราะว่าแพง และการนำเอา ERP เข้ามาใช้ในบริษัทมักไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการนำเข้ามาใช้นั้นเป็นการทำงานผู้ใช้เดิมต้องทำงานในระบบใหม่ที่ต้องเรียนรู้เพิ่ม และในระดับเริ่มแรกของการใช้ระบบ ก็จะต้องใช้คู่กับระบบเดิมที่มีอยู่ ทำให้พนักงานในองค์กรมีงานเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงไม่ค่อยมีใครต้องการที่จะใช้ระบบใหม่ที่ดีกว่านี้ ตัวอย่างของ ERP เช่น SAP เป็นของบริษัทเยอรมันเป็นผู้ผลิต, Oracle, PeopleSoft เป็นต้น

Major ERP Modules
  • Sales and Distribution (Records customer orders, shipping, billing, connections, based on SAP)
  • Material Management
  • Financial Accounting
  • Human Resources (Recruiting, payroll)
  • Third-Party (CRM, Customer Self-Service, Sales Force Automation)
ERP Lease or Buy?
           ขึ้นอยู่กับบริษัทว่าต้องการใช้มากน้อยแค่ไหน และมีทรัพยากรมากพอหรือไม่ แต่ส่วนมากจะเช่า ซึ่งตอนนี้ก็มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา เช่น Clound computing ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกระยะเวลาที่ต้องการได้ ไม่ต้องซื้อแล้วเอามาใช้แค่ช่วง peak 2 เดือนต่อปี ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณไปได้เยอะ

IT Hype
1.Augmented Reality
 เป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงที่เอามาผนวกเข้ากับเทคโนโลยี Software และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ

กระบวนการภายใน 3 กระบวนการ
1.การวิเคราะห์ภาพ โดยวิเคราะห์และสิบค้นจากข้อมูลจากฐานข้อมูล
2.คำนวณตำแหน่งเชิง 3 มิติ
3.สร้างภาพ 2 มิติ

องค์ประกอบ
1.marker เป็นรูปภาพ หรือ สี ก็ได้ แต่ส่วนมากจะเป็นขาวดำ เพราะง่ายต่อการจับภาพมากกว่า
2.กล้อง
3.จอแสดงผล
4.software ซึ่งเป้นส่วนประมวลผล

ใช้ในอะไรบ้าง
  • โทรศัพท์มือถือ ต้องมีกล้อง GRPS ต่อเนทได้
  • แมกกาซีน
  • แสดงการสาธิตการใช้สินค้า โดย IKEA และ Shisedo ใช้
ข้อดี
  • สร้างประการณ์ที่แปลกใหม่
  • ค้นหาตำแหน่งและรายละเอียดของสินค้าได้ชัดเจน
  • สร้างแคมเปญง่าย
  • เพิ่มโอกาสทางการตลาด
ข้อเสีย
  • ไม่เหมาะกับคนที่ไม่รู้เทคโนโลยี
  • เข้าถึงได้จำกัด
  • ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล
2.Mobile Operating Systems
          ระบบปฏิบัติการในมือถือ เป็นตัวที่บอกว่ามือถือเราใช้ App อะไรได้บ้าง มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล, แสดงผลบนหน้าจอ

ตัวอย่าง
1.Symbian OS
           ถูกพัฒนามาเป็น 10 ปีแล้ว และมีคนร่วมพัฒนาเยอะมาก มีมือถือหลายยี่ห้อที่ใช้ได้ และปัจจุบันเป็น open source

2.BlackBerry OS
           ตอนแรกส่วนมากใช้ในองค์กร ใช้ E-mail push ภายหลังจับกลุ่มเป็ยวัยรุ่น เน้นการ chat

3.iPhone OS
           พัฒนาโดย apple ใช้งานง่าย และดูหวือหวา มีระบบ Multi- touch มีจุดเด่นที่ความบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แต่ไม่รองรับ flash และเป็นระบบปิด การ download file ต้องผ่าน itunes

4.Window Mobile OS
           พัฒนาโดย Microsoft หน้าตาคล้าย Window บนคอม มีจุดเด่นคือ มี Microsoft Office เป็นระบบปิด ทำให้การพัฒนาต่อยอดได้ยาก

5.Android
          พัฒนาโดย google ร่วมกับหลายคน เป็นน้องใหม่ที่พัฒนามาจาก Linux เป็น open source ทำให้มีคนเข้ามาช่วยพัฒนาระบบจำนวนมาก มีแนวคิดที่จะพยายามนำ google ต่างๆ เข้ามาร่วมกับมือถือ แต่ยังมีปัญหาทางเทคนิคอยู่มาก

3.Video Telepresence
เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ Video Conference แต่เสมือจริงมากกว่า

สิ่งที่ทำให้ประสบการณ์เสมือนจริงมากกว่าคือ
1.ระบบเสียงคมชัด
2.ระบบภาพคมชัด เท่าตัวคนจริง และไม่ delay
3.ระบบไม่สลับซับซ้อน
4.ความน่าเชื่อถือสูง ผู้ให้บริการทุกรายจะตรวจสอบเสมอ เพื่อให้เสถียร
5.สภาพแวดล้อมที่ยอดเยี่ยม

ข้อจำกัด
  • ด้านต้นทุน เพราะห้องที่สมบูรณื 1 ห้องจะใช้เงินประมาณ 3-4 ล้าน และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงด้วย
  • ด้านสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ไม่โครโฟน จะต้องอยู่ในที่ที่ถูกต้อง
การนำไปใช้ในปัจจุบัน
1.ด้านการประกอบธุรกิจ มีผู้ให้บริการเช่าห้องประชุมทางไกล และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
2.ด้านการศึกษา เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงการศึกษา
3.ด้านการแพทย์ ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างแพทย์เมืองใหญ่และเมืองเล็ก
           ในไทยจะพบในบริษัทข้ามชาติ เช่น P&G แต่สัญชาติไทยคือ ปตท.

4.SOA
          เป็นแนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของ software ขององค์กรขนาดใหญ่ โดยให้ผู้ใช้สามารถเลือกเฉพาะบริการที่ต้องการได้

ประโยชน์
1.ทำให้สามารถเชื่อมโยงธรุกิจระหว่างองค์กรได้ง่ายมากขึ้น
2.ทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีและค่าใช้จ่ายในการรบำรุงรักษาลง เพราะไม่ยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

Business Intelligence

คาบ 9 : 19 ม.ค. 54

          วันนี้อาจารย์ศรีสมรักมาสอนอีกหนึ่งคาบ อาจารย์เริ่มต้นด้วยการทบทวนเนื้อหาคราวที่แล้วเกี่ยกวับ Data Warehouse แล้วจึงขึ้นหัวข้อต่อไปคือ

Data Warehouse Processing
          เป็นกระบวนการจัดทำ Data Warehouse โดยมีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. รวบรวมข้อมูล  - ทั้งจากภายในองค์กร (Operational Data) และ ภายนอกงอค์กร (External Data)
          2. ทำ Meta Data- หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลแล้ว จึงนำข้อมูลที่รวบรวมมา มาสร้าง Meta Data หรือ ข้อมูลของข้อมูล ที่ซึ่งใช้อธิบายเกี่ยวกับ Data ที่อยู๋ใน Warehouse ซึ่งจะมีทีมงานเข้ามเกี่ยวข้องด้วย
          2. ทำ Data Staging -หลังจากรวบรวมข้อมูลได้แล้ว นอกจากจะทำ Meda Data แล้ว ยังเอาข้อมูลที่รวบรวมมาไปทำ Data Staging ซึ่งเป็นการจัดระบบข้อมูลที่มี และสร้างเป็น Data Cube ซึ่งประกอบไปด้วยการทำ Extract, Clean, Transform และ Load
          3. สร้าง Data Warehouse - เมื่อได้ Data Cube แล้วจึงทำ Data Warehouse โดยยึด Business Object เป็นหลัก
          4. สร้าง Business View - เมื่อได้ Data Warehouse แล้ว การนำเสนอข้อมูลจะต้องอยู่ในรูปแบบที่ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำไปใช้ของผู้บริหาร ซึ่งจะอกมาในรูปแบบของ Dash Board

Meta Data
          เป็นข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ Data ที่อยู่ใน Warehouse, เป็นแนวทางในการเคลื่อนย้าย Data ต่างๆ รวมไปถึงวิธีในการเคลื่อนย้าย Data

Data Mart
          เป็นเสมือน Data Warehouse หน่วยย่อยของแต่ละแผนก เนื่องจาก Data Warehouse ของบริษัทนั้นมีขนาดใหญ่และมีผู้เข้าใช้จำนวนมาก ทำให้เกิดความวุ่นวายและสร้างปัญหาให้แก่ผู้ที่เข้าใช้ จึงคัดลอกข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่ายออกมาสร้างเป็น Data Mart ของแต่ละฝ่ายเอง เพื่อลดความวุ่นวายและปัญหาต่างๆ ลง ซึ่ง Data Mart แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1.Replicated (Dependent) Data Mart มีลักษณะเป็น Data Warehouse ของฝ่ายลักษณะเดียวกับที่อธิบายไปข้างต้น
          2.Stand-alone Data Mart เป็นการสร้าง Data Mart ของฝ่ายขึ้นมาโดยที่ไม่มี Data Warehouse ขององค์กร เนื่องจากองค์กรยังไม่มีความพร้อมในการสร้างเท่าฝ่าย แต่ข้อเสียของประเภทนี้คือ เมื่อทุกฝ่ายมี Data Mart แล้ว จะไม่สามารถนำ Data Mart -องแต่ละฝ่ายมารวมเป็น Data Warehouse ขององค์กรได้

Data Cube
          เป็น Multidimensional Databases ที่เอาไว้เก็บข้อมูลที่ Transform แล้วจึงมา Load ลงที่นี่ เพื่อให้สามารถมองภาพของข้อมูลนั้นได้หลายมิติมากขึ้น จุดเด่นของ Data Cube คือ สามารถตัดแบ่งส่วนเพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีได้ในหลายมิติ หลายมุมมอง ทำให้เห็นปัญหาที่ชัดเจนขึ้น

* Multidimensional Data * เป็นข้อมูลที่ถูกออกแบบมาให้นำเสนอให้มองเห้นความผิดพลาดและจุดเด่นได้อย่างชัดเจน โดยข้อมูลที่มีทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบของลูกบาศก์ ซึ่งสามารถ Slice และ Dice ออกมาได้
           Slice คือ การตัดข้อมูลออกมาโดยมองในมุมมองของช่วงเวลา แต่มองสินค้าทุกชนิด
           Dice คือ การตัดข้อมูลออกมาโยมองในมุมมองของสินค้าชนิดหนึ่ง ในช่วงเวลายาวๆ


          พอถึงตรงนี้อาจารย์ก็ปล่อยพักแล้วจึงมาขึ้นเนื้อหาเรื่อง Business Intelligence ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้

Business Intelligence
           คือ เป็นการรวมกันของ การออกแบบโครงสร้างระบบ เครื่องมือต่างๆ รวมถึงฐานข้อมูลและ Apllication ต่างๆ ที่ช่วยในการทำงานวิเคราะห์ ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม Function และ Features ดังนี้

          1. Reporting and Analysis - เป็นส่วนออกรายงานให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งมีตัวอย่างการออกรายงานต่างๆ เช่น
               - Enterprise Reporting System - จัดทำรายงานทั้งในรูปแบบปกติ และรูปแบบที่สามารถปรับแก้เองได้ตามต้องการ ซึ่งรายงานเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่เตรียมให้สำหรับผู้บริหารนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต่างๆ
               - Dashboards - ส่วนมากเป็นการแสดงรายงานของ operation และ tactical แต่ก็มีในระดับ strategic ด้วย (แต่ไม่นิยม)
               - Scorecard - เป็นรายงานสำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการในระดับ strategic

           2.Analytics - เป็นส่วนของการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
               - Online Analytical Processing (OLTP) - เป็นเครื่องมือเริ่มต้นของผู้บริหารที่ช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งเครื่องมือจะช่วยระบุปัญหาและวิเคราะห์ได้ในพื้นฐานเท่านั้น ไม่สามารถตอบคำถามเชิงธุรกิจได้ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือนี้จะทำให้ได้ insight ของข้อมูล แสดงผลออกมาในรูปแบบของกราฟ โดยจะวิเคราะห์แบบ Multidimensional
            
               - Data Mining - เป็นการแยกข้อมูลออกมาเพื่อพยากรณ์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น
           ลักษณะของ Data Mining จะต้องทำกับบริษัทที่มี Database ขนาดใหญ่, ต้องรู้ว่าข้อมู,นี้มีประโยชน์หรือไม่ (เหมือนแยกเพชรออกมาก้อนหิน), สามารถทำเป็น Paralle processing, นำเสนอรายงานได้ 5 รูปแบบ (แต่ต้องสั่งว่าต้องการรูปแบบไหน)

          Mining Process  เริ่มต้นที่ การรวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆ ทั้ง Warehouse และแหล่งอื่น แล้วทำ ECTL ซึ่งการที่ต้องทำอีกครั้งเนื่องจากข้อมูลชิ้นเดียวกันกับใน Warehouse แต่อาจมีความหมายที่แตกต่างไปใน Mining แล้วจึงวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญ คือ การแปรผลข้อมูล ที่จะทำให้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

           5 รูปแบบของ Data Mining
                    1.Clustering - นำเสนอข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเอง
                    2.Classification - นำเสนอข้อมูลตามสมมติฐานที่เราคิด โดยให้ทดสอบว่าสมมติฐานนั้นจริงหรือไม่ อย่างไร
                    3.Association - นำเสนอผลสืบเนื่อง
                    4.Sequence discovery - consequence ที่เกิดตามหลังมา
                    5.Prediction - นำเสนอโดยการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

          ข้อดีข้อเสียของการทำ Data Mining
                   - เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ
                   - แต่เทคนิคอาจจะซับซ้อนมากเกินไป ทำให้ต้องการความรู้และการอบรม
                   - และอาจต้องมีความรู้ด้านสิถิติในการอ่านและแปลผล

         -Text Mining - เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบ (Unstructure Data) เช่น ความคิดเห็นของลูกค้า ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยในการหา hidden content จากข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบ และจับกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะเดียวกันเข้าด้วยกัน
          การนำไปใช้ เครื่องมือนี้จะออกมาในรูปแบบของการ detect e-mail spam โดยการ detect keyword บางคำ หรือการส่งต่อกระบวนการทำงานอย่างอัตโนมัตให้แก่ผู้ที่รับผิดชอบ เช่น โทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติที่ให้กดเบอร์ตามฝ่ายที่ต้องการและจะโอนให้โดยตรง

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

Data Management

คาบ 8 : 12 ม.ค. 54

          วันนี้อาจารย์ศรีสมรักมาสอนแทนอาจารย์ปีเตอร์ ซึ่่งอาจารย์จะมาสอน 3 อาทิตย์ 3 เรื่องด้วยกัน อาทิตย์แรกนี้เริ่มด้วยเรื่อง Data Management โดยอาจารย์เริ่มปูพื้นเริ่มคาบดังนี้

          อาจารย์พูดถึงระบบสารสนเทศ (Information System) โดยอาจารย์ถามว่า twitter, facebook, เว็บคณะ, google, amazon พวกนี้เป็น IS หรือไม่?? โดยอาจารย์ได้อธิบายถึงความหมายของระบบ (System) ว่าจะต้องประกอบไปด้วย input, process, output เป็นหลักๆ และมี environment, boundary, control&feedback และ subsystem เป็นส่วนเสริม โดยการที่จะเกิดระบบขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีวัตถุประสงค์ก่อนว่า สิ่งที่จะทำนั้น ทำเพื่ออะไร output ที่ต้องการเห็นมีหน้าตา ลักษณะประมาณไหน เพื่อจะได้สามารถระบุ input และ process ได้ชัดเจน

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ระบบที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล ตามวัตถุประสงค์เืพื่อให้แก่ผู้ใช้ระบบ หลังจากนั้นจึงมีการจัดเก็บข้อมูลที่นำเข้ามาสู่ระบบเพื่อการใช้งานในอนาคต

           มาถึงตรงนี้อาจารย์ก็มีคำถามว่า output ของระบบสารสนเทศคืออะไร??
คำตอบก็คือ สารสนเทศ นั่นเอง เนื่องจาก output ของระบบคือวัตถุประสงค์ของระบบ ซึ่งวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศก็คือสร้างสารสนเทศขึ้นมา ดังนั้น output ของระบบสารสนเทศก็คือ สารสนเทศ

          โดยหน้าตาของ output ที่เป็นสารสนเทศนั้น จะแตกต่างไปจาก output ของระบบอื่นๆ คือ ระบบอื่นส่วนมากนั้น ลักษณะและรูปแบบของ output จะแตกต่างจาก input อย่างชัดเจน แต่สำหรับระบบสารสนเทศแล้วนั้น ส่วนมากจะมีลักษณะและรูปแบบที่ไม่แตกต่าง input มากนัก ทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้ชัดเจนว่า output ที่ออกมานั้นเป็น Data หรือ Information

           ความแตกต่างของ data และ information นั้นจะพิจารณาจาก ประโยชน์ที่ผู้รับได้รับ ถ้าผู้รับเห็นว่า output นั้นมีประโยชน์ สามารถช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม output นั้นจะเป็น Information แต่หาก output นั้นผู้รับไม่รู้สึกได้รับประโยชน์ output นั้นจะเป็นเพียง data

          ดังนั้น จากคำถามตอนต้นคาบของอาจารย์ ที่ถามว่า twitter, facebook, เว็บคณะ, google และ amazon นั้นอะไรเป็น IS บ้าง คำเฉลยก็คือ มีเพียง amazon เท่านั้นที่เป็น information เนื่องจากเป็น E-commerce มีการสั่งของเป็น input กระบวนการภายในของ amazon เป็น process และมี output คือ ของที่สั่ง

Data Management
      การบริหารข้อมูลทำได้ยาก เพราะ
  • มีข้อมูลเพิ่มขึ้นจำนวนมากตลอดเวลา
  • ข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ 
  • ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน แต่ละฝ่ายมีการสร้างและเก็บแยกออกจากกัน
  • ข้อมูลจากภายนอกที่ใช้ในการตัดสินใจเป็นข้อมูลที่เราไม่ีมีอำนาจเป็นเจ้าของ ไม่สามารถทำอะไรได้
  • มีเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล คุณภาพ และ จริยธรรมที่เป็นประเด็นสำคัญ
  • การเลือกเครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการนั้นเป็นปัญหาใหญ่

โดย Data Management แบ่งเป็น 4 อย่างคือ
  1. Data Profiling - ข้อมูลเืบื้องต้นของข้อมูลที่จัดเก็บ คือ ใครเป็นคนสร้าง ข้อมูลเหล่านี้จัดเก็บอยู่ที่ไหน จัดเก็บอย่างไร และใครเป็นผู้ใช้ข้อมูล
  2. Data quality management - เป็นการปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล
  3. Data integration - เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เหมือนกันจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน
  4. Data augmentation - เป็นการเพิ่มคุณค่าของข้อมูล

Data life cycle process
แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
           1. เก็บข้อมูล โดยสามารถเก็บข้อมูลได้จาก 3 แหล่งคือ Internal Data, External Data และ Personal Data
           2. เลือกข้อมูลที่้ต้องการใช้มารวมกันที่ Data Warehouse โดยจะเลือกเฉพาะข้อมูลย่อยๆ ที่ต้องการใช้ ไม่เลือกมาทั้งกลุ่ม
           3. ผู้ใช้เข้ามาคัดลอกข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์
           4. วิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจใช้เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ เช่น OLAP, EIS, DSS เป็นต้น หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ เช่น การทำ SCM, CRM หรือการวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น

Data Processing
แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ
          Transactional เป็นการประมวลผลข้อมูลขั้นพื้นฐาน ระดับปฏิบัติการ
          Analytical เป็นการเอาข้อมูลมาใช้ประมวลผลอีกครั้งเพื่อการตัดสินใจระดับสูงขึ้นไป นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วิเคราะห์ต่อ

Data Warehouse
           การทำ Data Warehouse นั้นเป็นเหมือนขั้นตอนการเตรียมข้อมูลที่เีกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อการตัดสินใจอีก ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่ผู้บริหารเน้นการใช้ข้อมูลในกาารตัดสินใจ จะไม่เหมาะกับองค์กรที่ผู้บริหารใช้ประสบการณ์ในการตัดสินใจ ดังนั้น ไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะต้องทำ Data Warehouse


ลักษณะของ Data Warehouse
  1. organization มีการจดหมวดหมู่ของข้อมูลใหม่ โดยจัดตามสิ่งที่สนใจ (Subject) เป็นหลัก (ไม่ได้แบ่งตามฝ่ายที่จัดเก็บข้อมูล)
  2. consistency ข้อมูลมีความสม่ำเสมอเหมือนกัน อยู่ในรูปแบบเดียวกัน
  3. time variant มีช่วงเวลาที่ชัดเจน
  4. non-volatile ข้อมูลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ีมีการถูกอัพเดท
  5. relational ใช้ relational structure
  6. client/server ใช้ server เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
องค์กรที่เหมาะกับการใช้ Data Warehouse
  • มีข้อมูลจำนวนมากที่ผู้ใช้ต้องการเข้าถึง
  • ข้อมูลระดับ operational ถูกจัดเก็บไว้ในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายระบบ
  • มีการใช้ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ
  • มีลูกค้าหลากหลายแบบ
  • ข้อมูลเดียวกันถูกเก็บในหลายรูปแบบในหลายระบบ
  • ข้อมูลถูกเก็บในระบบและรูปแบบที่ยากต่อการเข้าใจและแปลความ